10 พฤษภาคม 2563

เมืองไทย โรคอะไรน่ากลัวกว่าโควิด19

COVID-19 โรคระบาดที่สร้างความหวาดกลัวไปทั่วโลก

ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ประกัน COVID ขายดีมาก ๆ คนตื่นตระหนกในการซื้อประกัน COVID

COVID-19 มี % การเสียชีวิต 1.8% สำหรับประเทศไทย

แต่ยังมีโรคที่น่ากลัวกว่า COVID-19

 และบางโรคที่เป็นแล้วนอกจากการเสียชีวิต ยังต้องเสียเงินอาจถึงขั้นล้มละลาย

หลายปีที่ผ่านมามีคนไทยที่เสียชีวิตด้วย “โรคร้ายแรง” เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และที่น่ากังวลมากกว่านั้น ก็คือ ค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาพยาบาลของแต่ละโรค เรียกได้ว่าอยู่ในระดับที่สูงมาก... คุณคิดว่าตัวเองพร้อมแค่ไหน หากโชคร้ายมาเยือน ?


เล่าให้ฟังกันก่อนดีกว่าว่า ในปัจจุบันสถิติการเสียชีวิตของคนไทย ซึ่งมีสาเหตุมาจาก 5 กลุ่มโรคร้ายแรง กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มโรคร้ายแรงที่มีผู้ป่วยอยู่ในระดับสูง ได้แก่

1. โรคมะเร็ง
มะเร็งร้ายครองอันดับ 1 ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งชนิดใด มะเร็งลำไส้ มะเร็งมดลูก หรือมะเร็งเต้านม ก็ล้วนแล้วแต่คร่าชีวิตคนไทยมาแล้วนักต่อนัก สถิติการเป็นมะเร็งของคนไทยนั้นเพิ่มสูงขึ้นถึง 70,000 คน และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ มะเร็งยังครองแชมป์การเป็นโรคที่มีคนเป็นมากที่สุดในประเทศ อันดับที่ 1 ถึง 5 ปีซ้อน และมีผู้เสียชีวิตไปด้วยโรคนี้ถึงปีละ 50,000 คนอีกด้วย

2. โรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคยอดฮิตที่คนไทยนิยมเป็นกันไม่แพ้มะเร็ง เพราะด้วยนิสัยการทานอาหารที่มีไขมันสูง ไม่ยอมออกกำลังกาย สูบบุหรี่จัด ปล่อยตัวเองให้อ้วน เป็นโดยพันธุกรรม และคร่ำเคร่งอยู่กับงานตลอดทั้งวัน และยังเป็นอีกหนึ่งโรคแทรกซ้อนของผู้ที่เป็นเบาหวาน

3. โรคปอดเรื้อรัง
โรคปอดเรื้อรังสามารถกลายเป็นโรคถุงลมโป่งพอง ที่เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดต่าง ๆ เข้ามาอยู่ในชั้นเยื่อบุ และชั้นใต้เยื่อบุมากขึ้น ต่อมผลิตเมือกที่อยู่ใต้ชั้นเยื่อบุจะมีขนาดใหญ่ขึ้น และผลิตเมือกเข้าสู่หลอดลม จนทำให้เซลล์ที่ทำหน้าที่กวัดกวาดสิ่งสกปรกโดนเมือกเคลือบ แล้วนำพาเอาเมือกจากจุดอื่น ๆ เข้าสู่หลอดลมอย่างล้นหลาม และถุงลมก็จะถูกทำลายจนหายไป

4. โรคความดันโลหิตสูง
หรือโรคภาวะความดันโลหิตสูง โดยมีความดันสูงถึง 140/90 มิลลิเมตร – ปรอท ขึ้นไป โดยที่ความดันของคนปกติจะอยู่ที่ 90 – 119/60 – 79 มิลลิเมตร – ปรอท ถ้ามีอาการมึนหัว วิงเวียนศีรษะ สับสน เจ็บหน้าอก ใจสั่น เหงื่ออกมาก และปวดศีรษะมาก ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

5. โรคเบาหวาน
คือโรคที่ร่างกายสร้างฮอร์โมนอินซูลินมามาก จนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ร่างกายจึงไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม และตับอ่อนทำงานได้อย่างไม่เต็มที่ จนไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้งานได้ หรือใช้งานได้น้อย จนทำให้น้ำตาลค้างอยู่ในเลือดสูง

โรคพวกนี้เป็นประเภทโรคเรื้อรัง ทำให้เกิดการรักษาอันยาวนานเป็นเวลาหลายปี โดยเฉพาะโรคมะเร็งจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมากๆ
ตามภาพตัวอย่างค่ารักษาพยาบาลโรคมะเร็ง


ดังนั้น ด้วยปัจจัยด้าน แนวโน้มอัตราการเสียชีวิตจากโรคร้ายแรงเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง รวมกับค่ารักษาพยาบาลที่อยู่ในระดับสูงมาก ผู้ป่วยด้วยโรคเหล่านี้ จึงจำเป็นที่จะต้องเตรียม “เงินก้อน” ไว้เป็นค่ารักษาพยาบาล หรือไว้รองรับค่าใช้จ่ายในครอบครัว ระหว่างที่ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลจนไม่สามารถหารายได้สำหรับการใช้จ่ายได้

การทำ “ประกันโรคร้ายแรง” จึงน่าจะเป็นทางเลือกที่สามารถตอบโจทย์ได้ดีในเรื่องนี้ เพราะประกันโรคร้ายแรงมักจะมีระดับค่าเบี้ยประกันที่ไม่สูงนัก แต่ได้วงเงินความคุ้มครองในระดับที่สูง ซึ่งอาจเพียงพอกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่อาจเกิดขึ้นไดั แทนที่จะต้องเตรียมเงินก้อนไว้เป็นจำนวนมาก การทำประกันโรคร้ายแรงจะช่วยให้เรามีวงเงินฉุกเฉิน ในกรณีที่เกิดเป็นโรคร้ายแรง
ใช้เงินก้อนเล็ก ปกป้องเงินก้อนใหญ่ เป็นการบริหารจัดการความเสี่ยง  จ่ายเบี้ยประกันหลักหมื่น เพื่อจะได้มีเงินหลักล้านในการรักษา และสามารถปกป้องเงินออมที่เราจะไว้ใช้ในเรื่องต่าง ๆ ได้ เช่นการเกษียณ
ไม่ต้องลำบากคนรอบข้าง ถ้าเกิดเป็นมะเร็ง  พ่อแม่หรือคนที่เป็นห่วงเราอาจจะต้องเดือดร้อนมาช่วยเหลือเรา ดีกว่าไหม ที่เราจะสามารถช่วยเหลือตัวเองได้

#ประกันโรคร้ายแรง
#โควิด19 ร้ายไม่เท่าโรคมะเร็ง

#ที่ปรึกษาด้านประกันชีวิต,ประกันภัยและการเงินการลงทุน ขอแนะนำตัว
กดดูการบริการนามบัตรดิจิตอลนี้ได้เลย (รับสมัครผู้สนใจมาร่วมงานด้วยครับ)
https://easyapp.work/Apps/nc/index.php?uid=6ce0b84065

แอดไลน์มานะครับ ยินให้คำปรึกษาบริการและมาร่วมทีมทำงานด้วยกัน
http://line.naver.jp/ti/p/TUYJsWZQXC

10 เมษายน 2563

 “สุขภาพ (ร่างกาย)” กับ “การเงิน” 
6 วิธีง่ายๆ เพื่อสุขภาพการเงินที่ดี

หลายๆ คนอาจจะเริ่มสงสัยว่าตกลงคำว่า “สุขภาพ (ร่างกาย)” กับ “การเงิน” จริงๆ แล้วมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ 
การที่เราต้องตรวจเช็ค “สุขภาพร่างกาย” เป็นประจำทุกปี ถ้าพบว่ามีการเจ็บป่วย ก็ควรจะรีบไปพบแพทย์ จะได้รีบรักษา ถ้ายังไม่เจ็บป่วย ก็อย่าเพิ่งชะล่าใจ ควรหาทางป้องกัน การตรวจเช็ค “สุขภาพทางการเงิน” เพื่อประเมินว่าสุขภาพทางการเงินของเรานั้นแข็งแรงหรืออ่อนแอ ต้องเยียวยาแก้ไขหรือไม่อย่างไร คล้ายๆกัน
คนไทยส่วนใหญ่มีเงินออมไม่พอใช้ สาเหตุจากชีวิตเน้นไลฟ์สไตล์ รวดเร็ว ติดโซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้น แถมมีค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นจำพวกสุรา บุหรี่ในสัดส่วนสูง และยังออมผิดที่ผิดทาง ป้องกันความเสี่ยงระดับต่ำ" 
ไลฟ์สไตล์ส่วนตัวจะส่งผลกระทบระยะยาวต่อการออมและทำให้ไลฟ์สไตล์หลังเกษียณอายุไม่สวยหรูอย่างช่วงที่ยังมีกำลังทำงานหาเงิน แต่ต้องยอมรับความจริงเมื่อผลศึกษาออกมาว่า "คนไทยมีเงินเหลือใช้ไม่ถึง 6 เดือนเมื่อหยุดทำงาน" ไม่มีการเตรียมเงินฉุกเฉินไว้อย่างเพียงพอ ภาวะวิกฤติจากโควิด-19 เช่นนี้น่าจะลำบากกันแน่
# อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ใช้เวลาว่าง ตรวจสุขภาพการเงินกันดีกว่า 

หากคุณตอบคำถามแบบเดียวกับที่เรากำหนดมา นั่นหมายความว่า คุณกำลังใช้ชีวิตอยู่ในภาวะเสี่ยง อาจนำพาตัวเองไปล้มเหลวทางการเงินโดยไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจไว้ก่อนได้ หากพฤติกรรมของคุณเป็นไปตาม 6 ข้อด้านล่างนี้ระบุไว้ คุณควรหาทางแก้ไขอย่างเร่งด่วนนะครับ ก่อนปัญหาจะถาโถมจนคุณรับมือกับมันไม่ไหว 

1. คุณทราบหรือไม่ว่าตอนนี้คุณมีเงินสด ทรัพย์สินอื่นๆ และหนี้สินอยู่จำนวนเท่าใด ? 
หากคุณตอบไม่ได้ ขอกลับไปสำรวจก่อน การตอบเช่นนี้ หมายความว่าคุณอยู่ในภาวะที่เสี่ยงมาก หนี้สินก็ไม่รู้ว่ามีอยู่เท่าไร เงินทองทรัพย์สินที่ตัวเองมีก็ยังไม่รู้อีก มันอาจจะทำให้คุณตกหลุมพรางความโลภ หรือความปรารถนาถึงสิ่งที่คุณอยากได้อยากมีสินค้าใดก็ตามที่โผล่มาอยู่ตรงหน้าคุณกะทันหัน หากคุณห้ามใจไว้ไม่ได้ หรือไม่ได้เป็นคนวางแผนในการใช้จ่ายเงิน เงินคุณจะไหลออกไปเรื่อยๆโดยคุณไม่รู้ตัว 

รู้ตัวอีกทีก็ใช้เงินจนหมุนกันไม่ทันเสียแล้ว สิ่งที่คุณต้องทำคือ เอารายได้ และรายจ่าย หนี้ เอาออกมากางให้หมด เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์ทางการเงินของตัวเองครับ 

2. คุณออมเงินอย่างสม่ำเสมอหรือไม่ 
หากคุณตอบว่า..คุณไม่เคยออมเงินได้เลยสักครั้ง การออมเงินเป็นเรื่องไกลเกินฝัน ตอบอย่างนี้ชีวิตเริ่มมีปัญหาแล้วนะครับ นอกจากจะไม่รู้ว่ามีเงินและสิ่งที่ต้องจ่ายอยู่ในครอบครองเท่าไรแล้ว ยังไม่มีเงินออมอีก อย่างนี้ถ้ามีเรื่องฉุกเฉินต้องจ่ายเงิน จะเจอปัญหาชักหน้าไม่ถึงหลัง หยิบยืมชาวบ้านมาใช้แน่ๆครับ 

3. คุณทำอย่างไรกับการใช้จ่ายในแต่ละเดือน 
หากคุณตอบว่า..มีอะไรก็จ่ายๆ ไป ไม่จำเป็นต้องกำหนดงบประมาณ ไม่จำเป็นต้องทำบันทึกรายรับ-รายจ่าย 
ตายแล้วววว ตอบอย่างนี้ เจออุบัติเหตุทางชีวิตนี่คุณมีสิทธิเจอทางตันในการแก้ปัญหาได้เลยนะครับ เริ่มเลยครับ บันทึกเสียตั้งแต่วันนี้ คุณจะได้เข้าใจสถานการณ์ทางการเงินของตัวคุณเอง ได้เรียนรู้ว่าอะไรควรจ่าย อะไรควรประหยัด เริ่มทำเสียนะครับ เริ่มต้นเดือนใหม่แล้ว 

4. คุณมีวิธีเลือกซื้อสินค้าหรือบริการอย่างไร
หากคุณตอบว่า..เห็นก็ซื้อได้ทันที แล้วก็พบว่า มีสินค้าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เป็นจำนวนมากมายถูกกองไว้รอบบ้านแบบทิ้งๆ ขว้างๆ อยู่ในบ้าน 
โอ้วว เป็นการใช้เงินที่อันตรายมากเลยครับ ปรับแก้เสียนะครับ ถ้ารู้สึกว่าอยากได้สินค้านั้นเหลือเกิน ทิ้งเวลาให้ผ่านไปสัก 48 ชั่วโมงครับ จะได้รู้ว่า สินค้านั้นเราอยากได้หรือมันเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องซื้อจริงๆ หรือไม่ 

5. ถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ไม่ว่าคุณจะถูกไล่ออก ประสบอุบัติเหตุ ป่วยจนไม่สามารถทำงานต่อไปได้อย่างกะทันหัน คุณคิดว่าคุณจะมีเงินสำรองใช้เลี้ยงชีพคุณได้นานที่สุดเป็นระยะเวลาเท่าใด 
หากคุณตอบว่า..ไม่เกิน 3 เดือน . . นี่อยู่ในขั้นอันตรายมากนะครับ ยิ่งถ้าหากคุณมีค่าใช้จ่ายประจำที่ต้องจ่ายทุกเดือน ไม่ว่าจะเป็นค่าผ่อนรถ ค่าเช่าบ้าน แถมยังมีหนี้รายเดือนที่ต้องคอยโปะอีก ดันมาเจออุบัติเหตุไม่คาดฝัน ชีวิตคุณยุ่งแน่ๆ ครับถ้าไม่วางแผนจัดการเงินดีๆ อะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้กับชีวิตเรา อย่าใช้ชีวิตประมาทเลยนะครับ เริ่มออมเงินสำหรับส่วนที่ต้องใช้จ่ายฉุกเฉินเสียนะครับ ก่อนที่จะสายเกินไป 

6. คุณเตรียมตัวสำหรับเกษียณอายุไว้อย่างไรบ้าง 
หากคุณตอบว่า .. ยังไม่แน่ใจว่าจะสามารถมีเงินใช้ในยามเกษียณได้อย่างเพียงพอ . . อันนี้หากมันเกิดอุบัติเหตุหรือคุณป่วยจนเป็นเหตุให้อายุสั้นกะทันหัน แล้วคุณไม่ต้องแบกรับภาระค่ารักษาก่อนเสียชีวิต อันนี้ก็คงไม่เป็นภาระชีวิตเท่าไร แต่หากคุณมีชีวิตยืนยาวหลังเกษียณ แต่ดันมีเงินเหลือเก็บร่อยหรอ มันจะลำบากเอานะครับ 


รีบคำนวณและวางแผนเสียตั้งแต่ตอนนี้เถิดครับ ชีวิตคุณจะได้สุขสบายยามแก่เฒ่า ไม่เป็นภาระญาติมิตร ลูกหลาน และตัวเองด้วยนะครับ