10 พฤศจิกายน 2561

เกษียณสุขใจ...เตรียมตัวอย่างไรดี


พูดถึงเรื่องเกษียณกันเยอะมากช่วงนี้ เพราะบ้านเราตอนนี้กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ที่มีจำนวนมากกว่าวัยทำงาน
เมื่อถึงวัยเกษียณทุกคนก้อคงอยากเกษียณกันแบบมีความสุขใจกันใช่มั้ยครับ ขอแนะนำ3วิธีวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณสุขใจไปใช้กันครับ


เกษียณสุขใจ วางแผนอย่างไรดี
วางแผนเกษียณควรแบ่งเงินเป็น 3 ส่วน
1) สร้างสวัสดิการค่ารักษา เพราะตอนแก่ยังไงก็ป่วย หาคนอื่นมาจ่ายแทนดีกว่า แล้วไม่ใช่ไปคิดซื้อเอาตอนแก่ เพราะทั้งแพง และอาจจะทำไม่ได้เพราะสุขภาพไม่ดี ทีนี้จ่ายอานเลยครับ เงินที่หามาทั้งชีวิตจ่ายให้โรงพยาบาลหมด แถมเดือดร้อนลูกหลาน(ถ้ามี) เงินส่วนนี้วางแผนด้วยประกันทั้งหลาย วางแผนดีๆก็ไม่ต้องจ่ายทิ้งด้วยครับ
2) ค่าใช้จ่ายจำเป็นต่างๆ ปัจจัย 4 ที่จำเป็น อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่ ยารักษาโรค เงินก้อนนี้เป็น a must!! คือมันต้องมี ห้ามเสี่ยง ห้ามขาดทุน วางแผนเงินส่วนนี้ด้วย กองทุนรวมตลาดเงิน, ประกันบำนาญ จะให้ดีก็เอาแบบที่ลดภาษีได้ด้วย ได้เงินคือไปใช้ขำๆด้วยครับ
3) ลงทุนให้เงินโต เพื่อใช้ชีวิตอย่างที่เราต้องการ อยากเที่ยวก็ไป อยากกินอะไรก็กิน แต่ถ้าไม่มีส่วนนี้ก็ไม่ตาย ไม่เดือดร้อน พวกนี้จัดไปเลย หุ้น, กองทุนหุ้น, ทองคำ, อสังหาฯ
ไม่ได้ให้เลือกแบบใดแบบหนึ่งนะครับ ให้จัดสรรเป็นสัดส่วนให้ครบทุกแบบ ตามความจำเป็นและเหมาะสม แล้วคุณจะเกษียณแบบมีความสงบสุขทางใจ

12 กันยายน 2561

ทุกคนมีเงินล้านได้ แค่เปลี่ยนรายจ่ายเล็กน้อย ให้เป็นเงินออม


ทุกคนมีเงินล้านได้ แค่เปลี่ยนรายจ่ายเล็กน้อย ให้เป็นเงินออม และนำไปลงทุน



ลดการตามใจ ให้รายจ่ายเล็กน้อยที่เป็นประจำ นำมาออมด้วยการลงทุน แล้วคุณจะภูมิใจที่ได้มีเงินล้านในวันข้างหน้า ไม่ว่าจะ 10ปี 20ปี หรือ30ปี แต่มีแน่นอน



สมัครร่วมงานที่ปรึกษาการเงิน https://form.jotform.me/62262198232454

12 สิงหาคม 2561

“วงจรชีวิตกับการเงิน”

สนใจวางแผนการเงิน คลิกเลยครับ

“วงจรชีวิตกับการเงิน”
สิ่งนี้เป็นจุดเริ่มต้นและเหตุผลที่ทุกๆคนควร “วางแผนการเงิน”
คุณ Sanjay Tolini ที่ปรึกษาการเงินชื่อดัง เขาอธิบายเรื่องวงจรชีวิตของคนได้อย่างเรียบง่ายและน่าสนใจ
ถ้าดูจากในภาพจะเห็นว่า “วงจรชีวิตกับการเงิน” แบ่งเป็น 4 ช่วง คือ
ช่างที่ 1 : อายุ 0 – 20 ปี ช่วงเวลาของการเรียนรู้และเล่นในวัยเด็ก
ค่าใช้จ่ายทุกอย่างพ่อแม่เป็นคนดูแล
ช่วงที่ 2 : อายุ 20 – 40 ปี ช่วงเวลาเริ่มต้นการทำงานครั้งแรก
ซื้อรถคันแรก บ้านหลังแรก แต่งงาน มีลูก
ช่วงที่ 3 : อายุ 40 – 60 ปี มีการเติบโตในหน้าที่การงาน ย้ายงาน
ซื้อรถคันใหม่ บ้านหลังใหม่ ส่งลูกเรียน ดูแลครอบครัว
ช่วงที่ 4 : อายุ 60 – 80 ปี ช่วงเกษียณจากการทำงาน
ถึงเวลาของการพักผ่อนในบั้นปลายชีวิต
ถ้าดูให้ดีจะเห็นว่าครึ่งวงกลมด้านบนวัยเด็กและวัยเกษียณเป็นช่วงที่เรา “ไม่มีรายได้” แต่มี “ค่าใช้จ่าย”
ตอนเด็กยังมีพ่อแม่คอยดูแลค่าใช้จ่ายให้ แต่ตอนเกษียณใครจะมาดูแล ถ้าไม่เตรียมตัวให้ดี
สมมติตอนนี้อายุ 25 คิดว่าจะทำงานถึงอายุ 60 เราจะมีระยะเวลาทำงานหารายได้ 60 – 25 = 35 ปี
ใน 35 ปีนี้เป็นช่วงที่ท้าทายมากๆ เพราะ เป็นช่วงที่มีค่าใช้จ่ายต่างๆเข้ามาทั้งค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เช่น รถ บ้าน แต่งงาน มีลูก และค่าใช่จ่ายที่ไม่จำเป็นอีกมากมาย
แต่มีกฎธรรมชาติ 4 อย่างที่ทุกคนต้องเจอ คือ
โรคภัย
อุบัติภัย
จากไป
อยู่นานเกินไป
ทั้ง 4 อย่างนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะมีค่าใช้จ่ายตามมา
สิ่งสำคัญคือเมื่อเรารู้แล้วจะวางแผนรับมือกับมันอย่างไร?
เราคงไม่สามารถย้อนเวลากลับไปวางแผนตั้งแต่เกิดได้แต่เราเริ่มต้นวันนี้ได้
ใช้เวลา 35 ปีที่เหลือวางแผนให้ดี เริ่มต้นได้แล้ว เพราะมันเป็นช่วงเวลาเดียวที่เหลืออยู่
ใครมีเวลาต้องเริ่มศึกษาและลงมือทำ
ใครไม่มีเวลายิ่งต้องแบ่งเวลามาศึกษาและลงมือทำ
เมื่อเวลาผ่านไปจะได้ไม่ต้องมาบอกกับตัวเองว่า
“รู้งี้….”

24 กรกฎาคม 2561

ทำงานมาก็นาน รู้มั้ยเราควรมี เงินออม เท่าไหร่?



มนุษย์เงินเดือน ส่วนใหญ่ทำงานหนักตั้งแต่เช้ายันค่ำ ก็เพื่อหาเงินมาเลี้ยงดูความเป็นอยู่ของตนเองและครอบครัว บางคนทำงานทั้งวัน แต่เงินเดือนก็น้อยแบบเดือนชนเดือนอยู่ร่ำไป ส่วนหลายคนทำงานมาก็นมนานหลายสิบปี แต่ก็แทบจะไม่มีเงินเก็บเลยแม้แต่น้อย
เคยสงสัยไหมครับ ที่เราทำงานกันอยู่ทุกวันนี้ ตัวเราเองควรจะมีเงินเก็บเท่าไหร่แล้ว และเงินเก็บที่เรามีอยู่ มันเพียงพอหรือยังที่จะเหลือใช้แบบสบายๆ ไปจนถึงวันข้างหน้าแล้วหรือยัง
สูตรคำนวณเงินออม ฉบับมนุษย์วัยทำงาน
หลายๆ คนต้องเคยสงสัยกันแน่ๆ ว่าเงินออมเท่าไหร่ถึงจะเรียกว่ามากพอ แล้วเราทำงานมานานขนาดนี้เราควรจะต้องมีเงินออมเท่าไหร่ดี ซึ่งมันก็มี สูตรคำนวณ คร่าวๆ ที่จะสามารถบอกคุณได้นะครับว่าทำงานมาขนาดนี้ ควรมีเงินออมเท่าไหร่แล้ว
เงินออมที่ควรมี = 2 x (อายุปัจจุบัน-อายุที่เริ่มทำงาน) x (เงินเดือนปัจจุบัน+เงินเดือนที่เริ่มทำงาน)
ตัวอย่าง
คุณกระต่ายทำงานมาตั้งแต่อายุ 22 ปี มีเงินเดือนเริ่มต้น 15,000 บาท ปัจจุบันคุณกระต่ายอายุ 34 ปี มีเงินเดือนปัจจุบัน 40,000 บาท จากข้อมูลนี้ คุณกระต่ายควรจะมีเงินออมอยู่ที่
2 x (34-22) x (40,000+15,000) = 1,320,000 บาท
ซึ่งเงินออมที่ว่า ไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบเงินสดเสมอไป 100% โดยเราควรแบ่งสัดส่วนไว้ในสินทรัพย์ต่างๆ ตามระดับความเสี่ยงและเป้าหมายในการออมด้วย เช่น
สินทรัพย์ที่จับต้องได้ เช่น บ้าน ที่ดิน สินทรัพย์ให้เช่า เป็นต้น
สินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ เช่น สลากออมสิน เงินสด เงินฝากออมทรพย์ เงินฝากประจำ ตราสารหนี้ กองทุนรวม หุ้น ทองคำ เป็นต้น
คุณสามารถ สร้างอนาคตทางการเงิน ที่ดีได้ โดยเริ่มตั้งแต่วันนี้นะครับ เริ่มออมทีละนิดทีละหน่อย สักวันมันจะต้องไปถึงเป้าหมายที่คุณต้องการแน่นอน
#ACTIVE WEALTH
#สร้างมั่งคั่งอย่างมั่นคง

https://form.jotform.me/62262198232454

19 มิถุนายน 2561

อย่าฝากเงินทั้งหมดไว้กับธนาคาร เพราะ…



เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ก๋วยเตี๋ยวแถวบ้าน ชามละ 20 บาท ไม่น่าเชื่อจริงๆ ว่าปัจจุบันนี้ ราคาก๋วยเตี๋ยวสูงถึงชามละ 40บาททีเดียว อะไรที่ทำให้ราคามันถีบ ตัวสูงขนาดนั้นล่ะ…
“เงินเฟ้อ” มันคือเงินเฟ้อ อธิบายง่ายๆ คือ ราคาสินค้าต่างๆ สูงขึ้น แต่ว่ามันสูงขึ้นเร็วเกินไปรึเปล่า แล้วมีผลกระทบอะไรกับเราล่ะ.. อยากให้เรามาดูตรงนี้กัน
ราคาก๋วยเตี๋ยวที่เพิ่มขึ้น มานั่งคิดดูแล้ว ราคามันเพิ่มขึ้นเป็น2เท่าคิดเป็นอัตราทบต้น 3.6%ต่อปี ในขณะที่ถ้าฝากธนาคารกินดอกเบี้ย ฝากประจำโดยไม่ถอนเลย ถ้าได้ดอกเบี้ย 1% ต่อปี ทั้งๆที่เอาดอกเบี้ยไปฝากต่อด้วยนะ เงินของเราจะต้องใช้เวลาถึง 72ปี ถึงจะโตขึ้นเป็น2เท่า เงินหายไป ถูกขโมยไปด้วยภาษีดอกเบี้ย 15% และเงินเฟ้อคิดแค่3% เงิน 1ล้านที่เราฝากไว้ที่ธนาคารด้วยอัตราดอกเบี้ย1%ต่อปี ฝากทิ้งไว้ 5 ปีเงินหายไป 1 แสน ดังนั้น อย่าฝากเงินทั้งหมดไว้กับธนาคารครับ

ใช่แล้วล่ะครับ.. ยิ่งฝากเงิน เงินของเรายิ่งด้อยค่าลง เพราะเงินมันเฟ้อ.. อัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศ เค้ารวมรายการสินค้าหลายๆ ประเภทเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งก็อาจจะรวมถึงอะไร จิปาถะมากมาย แต่อย่างน้อย รู้ว่าสิ่งที่ต้องกินทุกวัน ราคามันสูงทวีคูณขึ้นไปมากทีเดียว..
หากแยกกลุ่มเฉพาะบางอย่างอัตราเงินเฟ้อสูงมาก เช่น ค่ารักษาพยาบาลสูงถึง 10% ,ค่าการศึกษาสูงถึง7%
แล้วเราควรทำอย่างไร ควรลงทุนอะไร แล้วมันจะไม่เสี่ยงเหรอ.. ในข้อนี้คิดว่าฝากเงินเฉยๆ ดังที่กล่าวมา มันก็คือความเสี่ยงแล้ว แต่เป็นความเสี่ยงโดยที่เราไม่รู้ตัวก็เท่านั้นเอง แล้วถ้าจะลงทุน มันมีอะไรให้เราลงทุนบ้างล่ะ..
นึกคร่าวๆ วิธีที่คนทั้งหลายลงทุนกัน (แบบถูกกฎหมายและไม่ต้องใช้ความสามารถพิเศษ) เห็นจะมี ฝากเงินเผื่อเรียก ฝากประจำ ลงทุนพันธบัตร ลงทุนตราสารหนี้ ลงทุนกองทุนรวม ประกันชีวิต ลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารทุน ที่เราชอบเรียกกันว่า “หุ้น” แล้วการลงทุนแต่ละประเภท ต่างกันอย่างไร..
ฝากเงินเผื่อเรียกกับฝากประจำ คงไม่ต้องอธิบาย ..
ลงทุนพันธบัตรกับตราสารหนี้ พันธบัตรก็คือตราสารหนี้ที่รัฐบาลเป็นคนออก ส่วนตราสารหนี้เอกชน เค้าก็เรียกสั้นๆ ว่า “หุ้นกู้” คือ มันไม่ได้เหมือนหุ้นซะทีเดียว คือ มันมีลักษณเหมือนซื้อสลากออมสิน คือมีเป็นเป็นก้อนเล็กๆ ไม่กี่พันบาท ไปจนถึงก้อนใหญ่ๆ หลักพันล้านบาท แล้วก็ต้องถือไว้จนครบกำหนดไถ่ถอน อาจจะมีแบบระยะเวลา 3 เดือน ไปจนถึง 100 ปี (หุ้นกู้ ปตท. อายุ 100 ปี ดอกเบี้ย 5.9% ต่อปี น่าจะขายหมดไปแล้ว คนที่ซื้อก็น่าจะเป็นพวกสถาบันการเงินกว้านไปจนหมด) คือ ถ้าเราซื้อพันธบัตรหรือหุ้นกู้ เราก็จะได้ดอกเบี้ยในอัตราที่แน่นอน ซึ่งจะสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก แต่จะเริ่มมีความเสี่ยงสูงขึ้น จากการที่เราต้องรับผิดชอบเงินของตัวเองแล้ว ไม่เหมือนเงินฝากที่มันจะไม่สูญไป (ถ้าธนาคารไม่ล้ม) ดังนั้นการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลความเสี่ยงจึงน้อยที่สุด รองลงมาก็คือหุ้นกู้ของกิจการขนาดใหญ่ ก็คือพวกกลุ่มปตท. หรือเครือปูนซิเมนต์ไทย
ฝากประกันชีวิต เป็นการลงทุนแบบออมเงินและดูแลเราตอนป่วยเข้าโรงพยาบาล บางคนป่วยเพียงครั้งเดียวทุกอย่างที่สร้างมาก็หายไปกับตา หากยังมีแรงก็หาใหม่ แต่ถ้าไม่มีแรงจะทำอย่างไร? คงเป็นภาระให้กับลูกหลานต่อไป ประกันชีวิตคอยดูแลช่วยเหลือในยามฉุกเฉิน ทำให้มีสภาพคล่องทางการเงินขึ้นได้ ยามชราก็จะมีเงินไว้ใช้ ในบั้นปลายของชีวิต
สรุปความคิด – เงินเฟ้อกัดกร่อนเงินของเรา ขโมยเงินของเราไป ถ้าเราทำให้เงินงอกเร็วกว่าเงินเฟ้อไม่ได้ เงินของเราก็ด้อยค่าลงนั่นเองครับ


https://form.jotform.me/62262198232454

29 พฤษภาคม 2561

วางแผนการเงินตามความฝันและความต้องการในแต่ละช่วงว้ย



สนใจวางแผนการเงินการประกันภัย
ความต้องการในชีวิตมีด้วยกันหลายรูปแบบ และในความต้องการที่หลากหลายนั้น ก็ยังสามารถที่จะเตรียมการ และวางแผนก่อนที่เวลานั้นจะมาถึงได้ ไม่ว่าจะเป็นความต้องการ ที่จะมีเงินออม เพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ตาม เช่น การออมเพื่อการเกษียณ การออมเพื่อหวังผลตอบแทน การออมเพื่อสำรองไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน เป็นต้น
โดยช่วงวัยของคนเราจะแปรผันไปตามอายุที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นภาระความรับผิดชอบทางการเงิน เริ่มตั้งแต่วัยเด็ก ที่พ่อแม่เป็นคนดูแลค่าใช้จ่าให้เป็นหลัก แต่เมื่อผ่านพ้นช่วงวัยเด็ก ก็ต้องดูแลภาระค่าใช้จ่ายด้วยตนเอง จากนั้นเมื่อเริ่มต้นมีครอบครัว ก็ต้องดูแลครอบครัว เมื่อมีลูก ก็ต้องเตรียมเงินออมไว้เพื่อการศึกษาของลูก รวมถึงการวางแผนเตรียมการสำหรับการใช้ชีวิตในบั้นปลาย
การค้นหาความต้องการที่แท้จริงของแต่ละคน ในแต่ละช่วงวัยที่เกิดขึ้น จะมีส่วนสำคัญ ให้สามารถวางแผนทางการเงินได้เป็นอย่างดี เพราะจะช่วยตอบโจทย์ความต้องการ และเป้าหมายได้ว่า ต้องการแบบประกันที่เน้นความคุ้มครองชีวิต เพื่อสร้างหลักประกันให้กับครอบครัว หรือการประกันสุขภาพ และอุบัติเหตุส่วนบุคคล เพื่อช่วยลดภาระทางการเงิน หากต้องการเข้ารับการรักษาพยาบาล
วัยเด็กและวัยรุ่น (อายุประมาณ 0-20 ปี)
ุ วัยเด็กและวัยรุ่น เป็นวัยแห่งความบริสุทธิ์และความน่ารัก วัยนี้พัฒนามาจากวัยทารก เด็กเริ่มรู้จักและสนใจบุคคล สิ่งแวดล้อม สิ่งของ สามารถใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้หลากหลาย ชอบการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ซึ่งความสามารถดังกล่าวกระตุ้นให้เด็กต้องการแสดงความสามารถที่มีอยู่ วัยนี้จึงมีลักษณะเด่นคือชอบแสดงความสามารถ ชอบอาสาช่วยเหลือ ช่างประจบ ซุกซน อยากรู้อยากเห็น มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ชอบปฏิเสธ ค่อนข้างดื้อ ต้องการมีอิสระ เป็นตัวของตัวเอง เริ่มรู้จักพึ่งพาตนเอง และไม่ยอมรับความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การทำกิจกรรม การเรียนรู้เหตุผล สิ่งใดผิดถูก การเรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง นอกจากนี้เด็กจะแสดงความรู้สึกนึกคิดของตนจากการพูดคุย การแสดงออก ความเฉลียวฉลาด ซึ่งจะเป็นเอกลักษณ์ของเด็กแต่ละคนด้วย
ชอบการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มีความซุกซน อยากรู้อยากเห็น
ต้องการความรัก ความเอาใจใส่ดูแลจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง
ต้องมีการพัฒนาการที่ดี ทั้งในเรื่องของการศึกษา และทางด้านจิตใจและอารมณ์
ความฝันและความต้องการทางการเงิน
มีเงินออมไว้เพื่อใช้เกี่ยวกับการศึกษาในอนาคต
มีความคุ้มครองทางด้านรายได้ ของพ่อแม่ ผู้ปกครอง หากมิเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น
ต้องการความคุ้มครองในเรื่องของอุบัติเหตุ และสุขภาพ
ข้อแนะนำช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น
แผนการออมเงินเพื่อการศึกษา
จะต้องเลือกวิธีการเก็บออม ที่สามารถสร้างความมั่นใจได้ว่า จะได้รับการศึกษาตามที่ต้องการได้ เพราะหลายๆเรื่องในชีวิต เราสามารถที่จะเลือกเสี่ยงได้ แต่เรื่องอนาคตทางการศึกษาของบุตร เราไม่ควรเสี่ยง
แผนการคุ้มครองอุบัติเหตุและสุขภาพ
เนื่องจากวันเด็ก เป็นวัยแห่งการเรียนรู้ อยากรู้อยากเห็น เป็นวัยที่ยังมีภาวะภูมิต้านทางเชื้อโรคที่ค่อนข้างน้อยกว่าวัยผู้ใหญ่ ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุ หรือโรคภัยไข้เจ็บย่อมมีมากกว่า โดยเฉพาะเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของเด็ก โดยเฉพาะเด็กวัยที่อายุไม่เกิน 6 ปี จะมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ค่อนข้างสูงมากๆ ซึ่งอาจกระทบถึงแผนการออมอื่นๆได้ด้วย

วัยเริ่มต้นทำงาน (อายุประมาณ 20-30 ปี)
เป็นช่วงที่มีความสุขกับการเริ่มมีอิสระ มีการงานและรายได้เป็นของตนเอง วัยเริ่มต้นทำงานมักชอบการพบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูง ค้นหาสิ่งที่อยากทำตามความฝันของตนเอง
มองโลกและอนาคตในเชิงบวก
มีพลังที่จะสร้างความสำเร็จในหน้าที่การงาน
มองหาโอกาสและวางแผนการศึกษาต่อ
เริ่มมีความคิดอยากมีทรัพย์สิน ที่มาจากน้ำพักน้ำแรงของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์สักคัน หรือบ้านสักหลัง
ความฝันและความต้องการทางการเงิน
มีเงินออมไว้เพื่อใช้ตามเป้าหมายที่วางไว้ในอนาคต
มีความคุ้มครองทางด้านรายได้ เมื่อยามที่ต้องหยุดพักรักษาตัว หรือทุพพลภาพ
ไม่ต้องกังวลกับค่าใช้จ่าย เมื่อต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
มีรายได้ต่อเนื่อง หลังการเกษียณอายุ
บิดา-มารดา ต้องมีชีวิตอยู่อย่างสบาย เมื่อต้องจากไปด้วยเหตุอันไม่คาดฝัน
ข้อแนะนำช่วงอายุเริ่มต้นทำงาน
แผนการออมเงินเพื่ออนาคต
จะต้องเลือกวิธีการเก็บออม ที่เป็นการเก็บออมระยะยาว เพื่อความมั่นคง และความมั่นใจในอนาคต การเก็บออมด้วยการประกันชีวิต จะช่วยแบ่งเบาความเสี่ยง ช่วยคุ้มครองเงินออมให้งอกเงยเพิ่มขึ้นตามที่หวังไว้
เงินออมไม่ใช่เงินที่เหลือเก็บ แต่ให้คิดไว้เสมอว่า เงินออมคือค่าใช้จ่าย เหมือนค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าผ่อนรถ ที่ต้องจ่าย เพราะฉะนั้นเมื่อได้รับเงิน ให้เก็บไว้ทันที
แผนการออมเงินไว้ยามฉุกเฉิน
เพราะไม่มีใครรู้ล่วงหน้า ว่าจะเกิดอะไรขึ้น พรุ่งนี้อาจไม่สบาย ป่วยหนักถึงต้องนอนพักในโรงพยาบาล มีค่ารักษาที่สูงมาก ถ้าเราไม่มีเงินจำนวนหนึ่งสำรองไว้ ชีวิตจะต้องมีปัญหาอย่างแน่นอน แต่ปัญหานี้จะลดลงได้ถ้ามีเงินออมส่วนนี้เก็บไว้
วัยเริ่มต้นชีวิตคู่ (อายุประมาณ 25-35 ปี)
เป็นช่วงที่มีความสุขกับการมีคู่ชีวิต มีเพื่อร่วทำกิจกรรมต่างๆในแต่ละวัน ผู้หญิงจะมีความสุข สนุกสนานกับการให้ความสำคัญกับครอบครัวมากกว่า ในขณะที่ผู้ชาย ก็มีความสุขกับการใช้ชีวิตคู่ วัยเริ่มต้นชีวิตคถึงแม้บางครั้งยังมีรูปแบบการใช้ชีวิตที่ไม่ต่างจากวัยโสดมากนัก
เริ่มต้นสร้างฐานะครอบครัว
ต้องการที่จะมีบ้านหรือที่อยู่อาศัย สำหรับการเริ่มต้นชีวิตครอบครัว
เริ่มแสวงหาความก้าวหน้าในหน้าที่การงานมากขึ้น หรืออยากเริ่มทำธุรกิจส่วนตัว
มองหาแหล่งออมเงิน หรือสร้างรายได้เพื่อเตรียมเงินสำหรับการมีบุตร หรือขยายครอบครัวในอนาคต
ความฝันและความต้องการทางการเงิน
สร้างความมั่นคงทางด้านรายได้ให้กับครอบครัว
มีรายได้ไว้ใช้จ่ายภายในครอบครัว เมื่อยามที่ต้องหยุดพักรักษาตัว หรือทุพพลภาพ
ไม่ต้องกังวลเรื่องความเสี่ยงในการเริ่มต้นธุรกิจใหม่
มีเงินออมเพื่อใช้จ่ายในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการมีบุตร การขยายครอบครัว หรือการเกษียณอายุ
ครอบครัวจะต้องมีชีวิตอยู่อย่างสบาย เมื่อคุณต้องจากไปด้วยเหตุอันไม่คาดฝัน
ข้อแนะนำช่วงอายุเริ่มต้นชีวิตคู่
วางแผนทางการเงินด้วยการทำประกันคุ้มครองรายได้ เพื่อคุณครอบครัว ในอนาคต 
การชำระเบี้ยประกันที่เหมาะสม ของผู้เอาประกันคือ ประมาณ 10% ของรายได้ต่อปี และทุนประกันที่จะคุ้มครอง ต้องพิจารณาจากภาระค่าใช้จ่าย และหนี้สินต่างๆที่ต้องรับผิดขอบ
วัยสร้างครอบครัวและมีบุตร (อายุประมาณ 31-45 ปี)
เป็นช่วงที่มีความสุขกับการมีครอบครัวที่อบอุ่น ทำกิจกรรมกับคนที่คุณรัก เฝ้าดูลูกน้อยที่เติบโตขึ้นทุกวัน และมักให้ความสำคัญกับลูกๆเป็นหลัก เช่น การทำกิจกรรมต่างๆในแต่ละวัน การเรียนพิเศษ การท่องเที่ยว แต่ในขณะเดียวกัน ก็เริ่มตระหนักถึงภาระต่างๆอย่างจริงจัง และจะเริ่มคิดถึงเรื่องเหล่อนี้เสมอ
การมีภาระความรับผิดชอบทางด้านการเงิน ไม่ว่าจะเป็นค่าเลี้ยงดูบุตร ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในครอบครัว
เริ่มมองหาอาชีพ หรือกิจกรรมเสริม เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้นของครอบครัว
มองหารูปแบบการสร้างความมั่งคั่ง เพื่อรองรับอนาคตของครอบครัว
ความฝันและความต้องการทางการเงิน
มีเงินก้อน สำหรับอนาคตการศึกษาบุตรวัยสร้างครอบครัวและมีบุตร
ไม่ต้องกังวลเรื่องภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัว
สามารถบริหารจัดการด้านการเงินในปัจจุบัน และเงินออมในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการออมเพื่อการเกษียณอายุ และการวางแผนด้านทรัพย์สินมรดก
มีช่องทางในการบริหารภาษี และหนี้สินอย่างมีประสิทธิภาพ
ครอบครัวจะต้องมีชีวิตอยู่อย่างสบาย เมื่อคุณต้องจากไปด้วยเหตุอันไม่คาดฝัน
ข้อแนะนำช่วงอายุเริ่มต้นทำงาน
ช่วงชีวิตคู่และการสร้างครอบครัว และสร้างความมั่งคั่ง ให้ทบทวนโดยการตรวจสอบแผนการเงินที่ทำไว้เดิม ว่าเพียงพอหรือไม่ หรือจะต้องทำเพิ่มเติมอย่างไร และการวางแผนด้านการศึกษาในอนาคตของลูกๆ
วัยสร้างความมั่นคง (อายุประมาณ 40-60 ปี)
เป็นช่วงที่มีความสุขและความภาคภูมใจ ที่ได้เห็นบุคคลในครอบครัวประสบความสำเร็จ มีเป้าหมายที่ชัดเจน ในการที่จะให้การศึกษาขั้นสูงแก่บุตร เพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแรงและมั่นคง ให้กับลูกๆ วัยสร้างความมั่นคงซึ่งมักจะต้องเผชิญกับสิ่งเหล่านี้เสมอ
ลูกๆเริ่มแยกตัวไปอยู่อิสระ หรือไปสร้างครอบครัวใหม่
เริ่มมีอิสรภาพทางการเงินมากขึ้น และเริ่มรู้สึกผ่อนคลายกับภาระต่างๆ เมื่อลูกๆใกล้จบการศึกษา
ต้องการสะสมเงินทุนไว้ใช้ในการดำเนินชีวิต เช่น ค่ารักษาพยาบาล หรือสำหรับการท่องเที่ยว
ความฝันและความต้องการทางการเงิน
สามารถบริหารจัดการด้านภาษี และวางแผนรองรับความเสี่ยงของธุรกิจ เพื่อให้สืบทอดสู่ทายาทได้
มีเงินออมเพื่อไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณ และเป็นกองทุนมรดกให้กับลูกหลาน
มีแหล่งที่มาของรายได้จากการลงทุน ที่ให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น
ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพ
ครอบครัวจะต้องมีชีวิตอยู่อย่างสบาย เมื่อคุณต้องจากไปด้วยเหตุอันไม่คาดฝัน
ข้อแนะนำช่วงอายุเริ่มต้นทำงาน
การวางแผนประกันชีวิต สำหรับชีวิตในอนาคตหลังเกษียณอายุอย่างรอบคอบ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะว่า อายุหลังเกษียณอาจยาวนานกว่าระยะเวลาที่เก็บออมก่อนเกษียณ
วัยหลังเกษียณ (อายุประมาณ 55-70 ปี)
เป็นช่วงวัยที่เริ่มปล่อยวางกับธุรกิจ หรือการงานที่ทำอยู่ และกลับมีความสุขกับการได้ทำกิจกรรมต่างๆ กับครอบครัว ซึ่งอาจเป็นครอบครัวใหญ่ที่มีทั้งลูกและหลานๆแล้ว และเตรียมการใช้ชีวิตในวัยหลังเกษียณจากเงินออมหรือเงินบำนาญ หรืออาจมีรายได้จากการทำธุรกิจอยู่ แต่สิ่งที่ต้องเผชิญคือ
อาจต้องกลับมาใช้ชีวิตคนเดียว ด้วยสาเหตุแห่งการเสียชีวิตของคู่สมรส หรือการหย่าร้าง
อาจยังต้องทำงานอยู่ เพื่อเก็บออมเงินให้มากขึ้น สำหรับเป็นมรดกให้กับลูกหลาน หรือไว้เป็นค่ารักษาพยาบาลเมื่อยามเจ็บป่วย
ยังได้รับเงินบำนาญทุกเดือน แต่เงินไม่พอกับค่าใช้จ่าย จึงต้องระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้นวัยหลังเกษียณ
ความฝันและความต้องการทางการเงิน
มีชีวิตสนุกกับการท่องเที่ยวหลังเกษียณอายุ หรือทำกิจกรรมกับหลานๆ โดยไม่ต้องกังวลกับภาระค่าใช้จ่าย
ยังมีรายได้ประจำอย่างต่อเนื่องหลังเกษียณ และใช้ชีวิตกับการนั่งบริหารพอร์ตการลงทุน อยู่กับบ้านอย่างสบายใจ
สามารถบริหารจัดการทางการเงิน เพื่อเป็นมรดกให้กับลูกหลาน
คนที่อยู่ข้างหลังจะต้องมีชีวิตอยู่อย่างสบาย เมื่อคุณต้องจากไปด้วยเหตุอันไม่คาดฝัน
ข้อแนะนำช่วงอายุหลังเกษียณ
ทำประกันชีวิต และซื้อความคุ้มครองสุขภาพและโรคร้ายแรง เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ลูกหลาน และเพื่อความสุขกับวัยเกษียณอย่างเต็มที่ ด้วยการท่องเที่ยว พักผ่อน เฝ้าดูความสำเร็จของลูกหลาน 
สุขภาพมีเพียงหนึ่งเดียว ที่จะต้องดูแลให้ดีที่สุด ค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพของทุกคนในครอบครัว คืออุปสรรคของการออมเงิน อย่าให้การเจ็บป่วยเพียงครั้งเดียว ต้องทำให้เงินออมที่สะสมมาทั้งชีวิตต้องหมดไป
เลือกแบบประกันชีวิตที่ตรงกับความต้องการ
เพื่อการเก็บออม เป็นการเก็บออมเงินที่ให้ผลประโยชน์ที่คุ้มค่าสูงสุด ที่สามารถมั่นใจได้ว่า จะมีเงินเก็บไว้ใช้สำหรับอนาคตของคุณและครอบครัวอย่างแน่นอน
เพื่อความคุ้มครองชีวิต เหมาะสมกับผู้ที่มีภาระความรับผิดชอบ ไม่อยากให้คนข้างหลังต้องลำบาก สร้างหลักประกันชีวิตไว้ให้กับคนที่คุณรัก
เพื่อเป็นทุนการศึกษา สร้างความมั่นใจว่า ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไร ที่ไม่คาดคิดในวันข้างหน้า ลูกหลานก็จะได้ศึกษาเล่าเรียนสำเร็จจนถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้
เพื่อคุ้มครองสุขภาพ ประกันสุขภาพจะช่วยแบ่งเบาภารค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาล เช่นค่ารักษา ค่าผ่าตัด รวมทั้งมีค่าชดเชยที่ไม่สามารถทำงานได้อีกด้วย
เพื่อความคุ้มครองอุบัติเหตุ อุบัติเหตุคือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดคิด การประกันอุบัติเหตุเป็นหลักประกัน เพื่อให้ความอุ่นใจว่า ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น บริษัทประกันจะเป็นผู้ดูแลค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ตามความคุ้มครองที่ทำไว้

สนใจวางแผนการเงิน คลิก 


15 พฤษภาคม 2561

5 นิสัยการใช้เงิน คนจะจน vs คนจะรวย


จากหนังสือ START LATE FINISH RISH เริ่มต้นช้าใช่ว่าจะรวยไม่ได้ คุณเดวิด บาค แบ่งนิสัยการใช้เงินโดยใช้หลักการ รู้หา รู้ใช้ รู้ออม รู้ลงทุน มาบริหารจัดการ ซึ่งส่งผลต่อชะตาชีวิตเราว่าจะเป็นคนจน หรือ คนรวย


 เราจะทำการไล่ไปทีละนิสัยเพื่อให้คุณเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ และเข้าใจว่าทำไมนิสัยแต่ละแบบจึงกำหนด     ชะตาชีวิตของคุณแน่นอน และจะเปลี่ยนแปลงมันได้ด้วยกลยุทธ์อะไรดี
โดย 20 % เป็นเงินออม อีก 30 % นำไปลงทุน ในกองทุนหรือธุรกิจที่ให้ผลประโยชน์งอกเงยตามหลัก "ให้เงินทำงาน  เพื่อคุณ"

ใช้เงินเท่ากับที่หาได้ ทำไมถึงจน ? 
      นิสัยนี้ คนเข้าใจกันผิดมาก ๆ ว่า "ดีแล้วนี่  ไม่เห็นน่าเดือดร้อนเลย" ปัญหาคือ ถ้าคุณหาได้ 100 ก็ใช้ 100 คุณจะไม่มี
    เงินเก็บสำรองยามฉุกเฉินเลย ดังนั้นคุณควรเปลี่ยนตัวเองจากนิสัย "หา 100 ใช้ 100" ตั้งแต่วันนี้เลย ตามขั้นตอนนี้
    1 เริ่มลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น
คนเราเข้าใจผิดมาตลอดว่า "ถ้าอยากรวยต้องหาเงินเพิ่ม" ผิด ผิด ผิด! ผิดหลักการบริหารเงินส่วนตัวทุกคนทุกครูอาจารย์
    ในโลก เพราะเรากำลังพึ่งพาอำนาจนอกตัวเรา คือคนที่จ้างงานเราแทนที่จะเริ่มต้นที่ตัวเองก่อนคือการตัดรายจ่าย ซึ่งได้ผลที่สุด  เร็วที่สุด ไม่ต้องรอใคร

    
2 ปลูกฝังนิสัย ได้เงินมาปั๊บ หัก 10 % เป็นเงินออมเลย    
เมื่อทำได้ครึ่งปีแล้วค่อยเพิ่มเป็น 15 และ 20 % ในที่สุด ห้ามเถลไถลกำเงินแล้ว "ขอซื้อของก่อนน่า" เด็ดขาด!
    3 นำเงินออมนั้นเข้าบัญชีแยกต่างหาก                  
เข้าบัญชีที่สามารถถอนเงินได้ไม่ต้องขอ ไม่ใช่เข้ากองทุนที่ ปีถึงมีสิทธิ์ถอน เพราะนี่คือเงินออมฉุกเฉิน ยังไม่ใช่
     เงินลงทุน และที่ต้องแยกบัญชีต่างหากเพราะเจ้าของเงินจะได้เห็นตัวเลขเพิ่มพูนขึ้นทุกครั้งที่ฝากเพิ่ม ทำให้เกิดกำลังใจ
     ผลักดันให้คุณรู้ว่าการสร้างนิสัยใหม่ให้ผลคุ้มค่าน่าชื่นใจอย่างนี้เอง ก็จะมีมานะอยากทำดีขึ้นไปเรื่อย ๆ เพราะเห็นสมุดบัญชีแล้วดีใจจัง แทนที่จะหวาดกลัวไม่กล้าอัพเดทบุ๊คเหมือนที่ผ่านมา
     4 ทุกครั้งที่หักเงินออมแล้วนำเข้าธนาคารจงชมเชยตัวเองเพื่อสร้างกำลังใจ
คนเรามักเข้าใจผิดว่า เมื่อทำอะไรสำเร็จต้องให้รางวัลตัวเองด้วยการซื้อของหรือปรนเปรอด้วยความหรู ความแพง

      ผิด! การให้รางวัลตัวเองที่ดีที่สุดคือการ "สร้างอนาคตที่ดี" ให้ตัวคุณ และเมื่อคุณกำลังสร้างอนาคตทีละขั้น ๆ สิ่งหนึ่งที่จะทำให้คุณเกิดพลังกายและใจ คือ
"หัดชมชยตัวเองทุกครั้งที่เราทำดี " การชมเชยตัวเองคือการให้พลังแก่จิตวิญญาณข้างใน
    ของคุณชนิดหาค่ามิได้ มันบอกนิสัยรักตัวเองอย่างชัดเจนเลย และคนรักตัวเองจริง ๆ ก็จะมุ่งมั่นสร้างสรรค์แต่สิ่งดี ๆ สู่ชีวิตและยอมขจัดหรือโละสิ่งอันไม่พึงปรารถนาหรือบั่นทอนชีวิตออกไปอย่างไม่ลังเล ที่สำคัญ การชมเชยตัวเองจะช่วยย้ำจิตคุณว่าคุณทำสิ่งที่ดีงามแล้ว จิตก็จะอยากทำดีต่อไปและเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
     5 อย่านำเงินออมนี้ไปให้รางวัลตัวเองด้วยของฟุ่มเฟือยเด็ดขาด
เพราะหลายคนพอเห็นเงินออมเริ่มเติบโตขึ้น จะถอนไปเล่นแชร์ เล่นหุ้น ซื้อของแพง ๆ ที่อยากได้ ไม่ใช่ ผิดวัตถุ

     ประสงค์ เงินออมนี้ไว้ใช้ยามฉุกเฉิน เช่น ตกงานกระทันหัน ที่บ้านป่วย รถเสียต้องซ่อม ยกเครื่อง ฯลฯ
     กุญแจสำคัญที่จะทำให้คุณเปลี่ยนจากความเชื่อแบบ "ใช้เงินพอดีกับรายได้ ไม่เห็นเดือดร้อน" มาเป็น  คนที่เห็นคุณค่าของการออมเงิน ต้องอาศัยการชมเชยตัวเองบวกกับวินัย

25 เมษายน 2561

กำหนดเป้าหมายทางการเงินก่อน แล้วค่อยหาที่อยู่ของเงินให้เหมาะสม



แนวความคิดการวางแผนด้านการเงิน
ต้องมีเป้าหมายชีวิต แล้วมากำหนดเป้าหมายทางการเงินให้สอดคล้องกัน

 “ เป้าหมายทางการเงิน “ เป็นสิ่งที่ทุกคนวาดฝันไว้ เช่น อยากมีบ้านหลังโตๆ อยากได้รถ อยากมีเงินใช้เยอะๆ หลังเกษียณอายุ เป็นต้น ซึ่งหลายๆ คนสามารถทำตามฝันที่วางไว้ได้สำเร็จอย่างง่ายดาย บางคนต้องใช้ความพยายามอย่างมากจึงจะสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้  หรือบางคนสามารถทำตามความตั้งใจไว้ได้ โดยที่ไม่รู้เลยว่า สิ่งนั้นคือ เป้าหมายทางการเงิน การวางแผนทางการเงินเป็นตัวช่วยที่ทำให้เป้าหมายทางการเงินที่วางไว้ประสบผลสำเร็จได้เร็วขึ้น ดังนั้น เรามาเรียนรู้ถึงวิธีที่จะช่วยให้การวางแผนการเงิน เพื่อให้เป้าหมายทางการเงินประสบความสำเร็จได้

กำหนดเป้าหมายทางการเงิน

 ดั่งสำนวนที่ว่า “เริ่มต้นดี มีชัยไปกว่าครึ่ง” สำหรับการตั้งเป้าหมายทางการเงิน หากมีการตั้งเป้าหมายที่ดี และเหมาะสมแล้ว ความเป็นไปได้ที่เป้าหมายทางการเงินนั้นจะประสบผลสำเร็จก็เป็นเรื่องที่ไม่ยากเกินความสามารถ ลักษณะของเป้าหมายทางการเงินที่ดีนั้น ประกอบไปด้วย 5 ปัจจัย หรือที่เราเรียกกันว่าการตั้งเป้าหมายทางการเงินที่ดีตามหลัก SMART ได้แก่
      - S pecific : ชัดเจน ว่าต้องการอะไร
      - M easurable : วัดผลได้ เพื่อให้รู้ว่าเป้าหมายใกล้สำเร็จหรือไม่ ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบตัวเงิน 
      - A ccountable : รู้ถึงแนวทางว่าทำอย่างไร เพื่อให้เป้าหมายนี้สำเร็จได้
      - R ealistic : เป้าหมายควรท้าทาย แต่สามารถทำได้จริง
      - T ime Bound : มีระยะเวลากำหนดแน่นอนว่า ต้องใช้เวลาเท่าไรจึงจะสำเร็จผลได้

      ตัวอย่าง เป้าหมายทางการเงินที่ดี คือ นายมั่งมี ต้องการมีเงินเก็บ จำนวน 1 ล้านบาท โดยตั้งใจจะออมเงินจำนวน 16,700 บาท เป็นระยะเวลา 5 ปี เป็นต้น

      เป้าหมายทางการเงิน สามารถแบ่งแบบง่ายๆ ตามระยะเวลาได้ 3 แบบ คือ เป้าหมายระยะสั้น เป้าหมายระยะกลาง และเป้าหมายระยะยาว ซึ่งเป้าหมายในแต่ละช่วง จะมีความสำคัญมากน้อยแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการทางการเงินของแต่ละบุคคล โดยเป้าหมายทางการเงินในแต่ละช่วงอาจเป็นดังนี้

      1. เป้าหมายทางการเงินระยะสั้น คือ เป้าหมายทางการเงินที่ต้องการทำให้สำเร็จภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี เช่น การศึกษาต่อปริญญาโท ซื้อรถยนต์ หรือสินค้าต่างๆ ที่มีมูลค่าสูง หรือท่องเที่ยวต่างประเทศ เป็นต้น

      2. เป้าหมายทางการเงินระยะกลาง คือ เป้าหมายทางการเงินที่ต้องการทำให้สำเร็จภายในระยะเวลามากกว่า 3 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี เช่น การดาวน์เพื่อซื้อบ้าน หรือคอนโดมิเนียม การใช้จ่ายในงานแต่งงาน เป็นต้น

      3. เป้าหมายทางการเงินระยะยาว คือ เป้าหมายทางการเงินที่ต้องการทำให้สำเร็จภายในระยะเวลามากกว่า 5 ปี เช่น การเกษียณอายุ การศึกษาบุตร เป็นต้
เมื่อกำหนดเป้าหมายทางการเงินแล้วจึงหาที่อยูู่ของเงินให้เหมาะสมกับเป้าหมาย ซึ่งจะมีเรื่องเวลา ผลตอบแทน ความเสี่ยง และสภาพคล่อง เข้ามาเกี่ยวข้อง เงินอยู่แต่ละที่จึงทำหน้าที่แตกต่างกัน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายชีวิตอย่างมั่งคั่งและมั่นคง


การนำเงินออมเพื่อเป้าหมายการเงินนั้น ต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น ระยะเวลาการลงทุน ระดับความเสี่ยงของการลงทุนที่ยอมรับได้ ความสำคัญของเป้าหมาย เป็นต้น โดยอาจเลือกวางเงินไว้ตามระยะเวลาของเป้าหมายทางการเงิน ซึ่งผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะสม มีดังนี้
      1. เป้าหมายทางการเงินระยะสั้น ควรลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินที่มีสภาพคล่องสูง และมีความเสี่ยงต่ำ เพราะมีระยะเวลาในการลงทุนสั้น จึงไม่สามารถแบกรับความเสี่ยงได้มากนัก หากประสบผลขาดทุนอาจทำให้เป้าหมายทางการเงินที่วางไว้ไม่ประสบผลสำเร็จ ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม เช่น เงินฝาก กองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมตราสารหนี้ เป็นต้น
      2. เป้าหมายทางการเงินระยะกลาง สามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินที่มีสภาพคล่องน้อยกว่า เป้าหมายทางการเงินระยะสั้น เนื่องจากระยะเวลาในการออมเงินเพื่อเป้าหมายนานยิ่งขึ้น และสามารถลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินที่มีความเสี่ยงจากการลงทุนได้มากขึ้น โดยสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ตามระดับความเสี่ยงที่สามารถรับได้ ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม เช่น กองทุนรวมผสม (ตราสารหนี้ และหุ้น) กองทุนรวมหุ้น กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) กองทุนรวมที่ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ เป็นต้น
      3. เป้าหมายทางการเงินระยะยาว สามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินได้หลากหลายมากที่สุด เพราะไม่ต้องการสภาพคล่อง และมีระยะเวลาในการลงทุนที่นาน โดยการเลือกลงทุนสำหรับเป้าหมายทางการเงินนี้ หากนำสิทธิประโยชน์ทางภาษีมาร่วมคำนึงจะทำให้การลงทุนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม เช่น กองทุนรวมผสม (ตราสารหนี้ และหุ้น) กองทุนรวมหุ้น กองทุนลดหย่อนภาษี (LTF/RMF) กองทุนรวมที่ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ รวมไปถึงประกันชีวิต 


10 เมษายน 2561

ออมแบบ “การันตี” เพื่อการเกษียณกันดีกว่า


เราคงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าสิ่งที่เราให้ความสำคัญมากที่สุดในการออมเงินคือออมให้ชนะเงินเฟ้อ เพราะการถือเงินสดไว้เฉยๆ สุดท้ายมูลค่าเงินก็จะถูกเงินเฟ้อค่อยกัดกินไปเรื่อง ดังนั้นโดยคร่าวๆเราต้องการสร้างผลตอบแทนการลงทุนระยะยาวให้ได้มากกว่า 3.5-5% ต่อปี ดังนั้นออมแบบปลอดภัยอย่างเดียวไม่ช่วยให้บรรลุเป้าหมายแน่นอน ต้องมีการผสมผสานกันกับพอร์ตที่เป็นตราสารทุนด้วยเพื่อให้ผลตอบแทนเติบโต แต่ยังไงในพอร์ตของการออมก็จำเป็นต้องมีการออมที่เป็นการการันตีผลตอบแทนอยู่บ้างเหมือนกัน เพราะคำว่า “การันตี” ก็ทำให้เรารู้ว่าถึงแม้วันที่แย่ที่สุด พอร์ตที่การันตีก็เป็นเหมือนปราการด่านสุดท้ายที่ช่วยสร้างผลตอบแทนให้กับเราได้
หากพูดถึงการออมหรือการลงทุนที่เป็นแบบการันตี หรือความเสี่ยงต่ำ หลายคนมักจะนึกถึงเงินฝากธนาคารเป็นหลัก แต่ความจริงแล้ว การออมแบบความเสี่ยงต่ำยังมีเครื่องมืออยู่อีกหลายตัวที่ช่วยเราได้ ซึ่งแต่ละตัวก็มีข้อดีข้อด้อยต่างกันไปครับ
ตราสารหนี้หรือกองทุนตราสารหนี้ ตราสารหนี้ การลงทุนด้วยวิธีนี้เป็นสิ่งที่เห็นภาพได้ชัดเจนที่สุด และเป็นการลงทุนที่ให้กระแสเงินสดสม่ำเสมอในรูปแบบของดอกเบี้ย ปกติหากพูดถึงตราสารหนี้ คนที่เกี่ยวข้องมักจะเป็นสถาบันการเงินต่างๆที่เข้าไปทำการถือตราสารหนี้ เพราะตลาดตราสารหนี้เป็นตลาดที่ซื้อขายกันในวงเงินที่สูง ดังนั้นในปัจจุบันจึงมีสถาบันการเงินสร้งผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่ากองทุนตราสารหนี้ขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการออมทรัพย์ของนักลงทุนรายย่อย ด้วยการเป็นผู้จัดการลงทุนให้กับเจ้าของเงินในตราสารหนี้ต่างๆ รูปแบบการรับผลตอบแทนของกองทุนตราสารหนี้มีทั้งสองแบบคือแบบมีกระแสเงินสดจากเงินปันผลของกองทุน นึกภาพง่ายๆว่ากองทุนลงทุนในตราสารหนี้เมื่อตราสารหนี้ได้รับดอกเบี้ยมา กองทุนก็นำเงินที่ได้รับมาปันผลต่อให้กับผู้ถือหน่วย แต่หากเป็นกองทุนแบบที่ไม่ได้ปันผล เวลาที่ได้รับดอกเบี้ยมา ก็จะทำให้กองทุนมีมูลค่า NAV สูงขึ้นเรื่อยๆ เราก็ขายคืนกองทุนนี้แล้วก็จะได้เงินต้นรวมกับผลตอบแทนออกมาครับ
อสังหาริมทรัพย์ให้เช่าหรือกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ พูดถึงการลงทุนแบบนี้ ถือว่าเป็นยอดปรารถนาของนักลงทุนหลายๆคนครับ เพราะว่าในระยะยาว อสังหาริมทรัพย์ล้วนมีแต่ราคาขึ้นเรื่อยๆ แถมการปล่อยให้เช่าก็เป็นการสร้างกระแสเงินสดที่แน่นอน คล้ายๆกับการรับดอกเบี้ยเช่นเดียวกัน แถมยังสามารถขึ้นค่าเช่าได้ด้วยเมื่อเวลาผ่านไป แต่การลงทุนแบบนี้มีข้อหนึ่งที่ต้องระวังก็คืออสังหาฯมักจะต้องใช้เงินลงทุนสูง ซึ่งมักตามมาด้วยการก่อหนี้ และต้องมีดอกเบี้ยเกิดขึ้นแน่นอน การลงทุนในแบบนี้จะต้องใช้ความระมัดระวังและศึกษาข้อมูลก่อนการลงทุนค่อนข้างมาก หากผิดพลาดไปจะแก้ไขก็ไม่ง่าย เพราะว่าการจะขายต่อก็มีข้อจำกัดเรื่องของสภาพคล่อง รวมถึงค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยนมือเจ้าของด้วย บางคนที่เห็นความยุ่งยากนี้ก็อาจจะมีทางเลือกอีกทางหนึ่งคือการลงทุนผ่านกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ได้ ซึ่งมีผู้จัดการทุกอย่างให้เสร็จ เพียงแค่จ่ายเงินลงทุน แล้วก็รอรับเงินปันผลจากกองทุนได้เลยครับ
เครื่องมือสุดท้ายที่จะกล่าวถึงในคราวนี้ก็คือ ประกันสะสมทรัพย์หรือบำนาญ การออมในรูปแบบนี้แม้ว่าจะให้ผลตอบแทนเท่ากันหรืออาจจะต่ำกว่าในสองรูปแบบข้างต้น แต่ก็ถือว่าน่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะว่าการออมผ่านประกันสะสมทรัพย์ เป็นเพียงสินค้าทางการเงินไม่กี่แบบที่ “การันตี” ผลตอบแทนการออม ไม่ว่าสภาวะผลตอบแทนอื่นๆจะเป็นเท่าไหร่ แต่ประกันสะสมทรัพย์ให้เราตามสัญญาไม่เปลี่ยนแปลงแน่นอน นอกจากนี้ผู้ลงทุนยังมีโอกาสได้ประโยชน์จากการลดหย่อนภาษีด้วย ซึ่งคิดเป็นผลตอบแทนเฉลี่ยแล้วอาจจะสูงได้ถึง 4-6% ต่อปีเลยทีเดียว และที่สำคัญที่สุดคือการทำประกันแบบสะสมทรัพย์เป็นสินทรัพย์ที่แปรเป็นเงินสดได้เร็วที่สุดยามเจ้าของจากไป เมื่อเทียบกับสองข้อข้างต้นที่ต้องเข้ากระบวนการจัดสรรมรดกให้แก่ทายาทซึ่งอาจจะใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปีเลยทีเดียว แต่ประกันนั้นสามารถจ่ายเงินสินไหมให้กับทายาทหรือผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์ได้โดยทันที
ถ้าถามว่าการออมการลงทุนทั้งสามแบบ แบบไหนดีที่สุด บอกแบบพระเอกได้เลยครับว่าไม่สามารถฟันธงได้ครับ ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าชอบแนวไหนมากกว่ากัน แต่ความเห็นผมเห็นว่าไม่มีผลิตภัณฑ์ไหนที่ดีที่สุดในตัวเองได้สมบูรณ์ครับ แผนการเงินที่ดีต้องมีองค์ประกอบหลายๆส่วนมาร่วมด้วยช่วยกันครับ เหมือนกับทีมฟุตบอลที่ต้องมีหลากหลายหน้าที่ผสมผสานกันไป เราจึงจะได้พอร์ตการออมการลงทุนที่สามารถสร้างประโยชน์ไปพร้อมกับผลตอบแทนได้ทุกๆสถานการณ์ครับ

8 กุมภาพันธ์ 2561

“อย่าใส่ไข่ทุกฟองไว้ในตะกร้าใบเดียวกัน – Don’t put all your eggs in one basket”



เมื่อปลายสัปดาห์เป็นอีกครั้งที่เราได้เรียนรู้จากตลาดหุ้นไทยในเรื่องหลักของการกระจายความเสี่ยง หรือที่เรียกกันว่า "Diversification" ซึ่งเป็นหลักการลงทุนเบื้องต้นที่นักลงทุนทุกคนคงจะเคยได้ยินได้รู้จักในการลงทุน เพราะถ้าใส่ไข่ทุกฟองไว้ในตะกร้าใบเดียวกัน หากตะกร้านั้นเป็นอะไรไป ไข่ก็จะเสียหายทั้งหมด โดยเปรียบไข่เป็นเงินลงทุนของเรา การกระจายด้วยการนำไข่ไปใส่ในหลายๆ ตะกร้า ก็เปรียบเสมือนกับการนำเงินลงทุนกระจายไปในการลงทุนหลายรูปแบบ เช่น หุ้น ตราสารหนี้ เงินฝาก ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ เพราะเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันกับตะกร้าใบใดใบหนึ่ง อย่างน้อย เราก็ยังมีตะกร้าใบอื่นๆ เหลืออยู่

สินทรัพย์ทางการเงินทุกอย่างมีความเสี่ยงหรือความไม่แน่นอนของผลตอบแทนเกิดขึ้นเสมอ การกระจายความเสี่ยงอาจลดอัตราผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุนก็จริงๆ แต่สิ่งที่ลดลงด้วยก็คือ ความเสี่ยง

เราสามารถกระจายความเสี่ยงได้ในหลายระดับ เช่น

• การกระจายการลงทุนภายในสินทรัพย์ประเภทเดียวกัน เช่น ผู้ลงทุนในหุ้นรายตัว อาจจะกระจายความเสี่ยงด้วยการกระจายการลงทุนในหุ้นแต่ละอุตสาหกรรม หากอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งเกิดมีปัญหา ผู้ลงทุนจะไม่ได้ผลกระทบมากนัก เพราะยังเหลืออุตสาหกรรมอื่นที่ยังดีอยู่ หรือผู้ลงทุนในตราสารหนี้ ก็อาจจะมีการกระจายการถือตราสารหนี้หลายฉบับระหว่างผู้ออกตราสารภาครัฐกับภาคเอกชน

• การกระจายระหว่างประเภทสินทรัพย์ หรือที่เรียกว่าการทำ “Asset Allocation” คือ ผู้ลงทุนอาจกระจายเงินลงทุนในสินทรัพย์ที่แตกต่างกัน หรือคนละประเภทสินทรัพย์ เช่น เงินสด ตราสารหนี้ ตราสารทุน อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ น้ำมัน เป็นต้น

• การกระจายข้ามประเทศ (Country Allocation หรือ International Diversification) คือ ผู้ลงทุนอาจกระจายเงินลงทุนไปยังตลาดประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Markets) ตลาดประเทศกำลังพัฒนา (Emerging Markets) หรือทั่วโลก (Global) เพราะในบางครั้งประเทศไทยแย่ หรือประเทศโซนเอเชียแย่ แต่ยังมีประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือภูมิภาคอื่นที่ยังมีการเติบโตให้เลือกลงทุนอยู่

จากตลาดหุ้นไทยเมื่อปลายสัปดาห์ เราจะเห็นได้ว่าการกระจายการลงทุนภายในสินทรัพย์ประเภทเดียวกัน หรือการกระจายระหว่างประเภทสินทรัพย์คงไม่เพียงพอ เราจำเป็นที่จะต้องมีการกระจายการลงทุนข้ามประเทศด้วย อย่างเช่น แทนที่จะลงทุนในหุ้นประเทศเดียว ก็กระจายไปลงทุนในหุ้นของประเทศอื่นๆ ด้วย โดยในระหว่างเส้นทางการลงทุน หากหุ้นของแต่ละประเทศ เคลื่อนไหวแตกต่างกันบ้าง ก็จะได้ประโยชน์จากการกระจายการลงทุน

เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าปัจจัยเสี่ยงภายในประเทศก็เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงหลักที่ส่งผลกระทบต่อตลาดภายในประเทศครับ เช่น ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทาง สังคม การเมือง เศรษฐกิจ กฎหมายหรือข้อบังคับต่างๆ รวมถึงข้อจำกัดในการลงทุนภายในประเทศนั้นๆ เช่น ข้อจำกัดในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินข้อจำกัดเกี่ยวกับการลงทุนจากต่างชาติ และการแทรกแซงของหน่วยงานรัฐ เป็นต้น

ตัวอย่าง
ในปีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ตลาดหุ้นไทยร่วงลง 50% ในขณะที่ปีเดียวกันนั้นตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้น 33 %ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ตลาดหุ้นของประเทศในกลุ่มยูโรปรับตัวเพิ่มขึ้น 36.8% ในสกุลเงินยูโร ดังนั้นหากในปี 2540 นักลงทุนมีการกระจายเงินลงทุนในยังต่างประเทศได้ก็จะทำให้ได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงเงินลงทุนทั้งหมดในประเทศไทย

หรือในกรณีเหตุการณ์วันที่ 19 ธันวาคม 2549 ที่ตลาดหุ้นไทยตกลงวันเดียวเกิน 10% จากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศมาตรการสำรอง 30% ซึ่งไม่ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดการลงทุนของประเทศอื่นๆ เลย

ซึ่งจะเห็นว่าในช่วงเวลาดังกล่าวการกระจายการลงทุนในบริษัทต่างๆ หลายบริษัทหรือหลายกลุ่มอุตสาหกรรมภายในประเทศไม่สามารถช่วยลดความเสี่ยงจากปัจจัยภายในประเทศได้ การกระจายการลงทุนไปในหลายประเทศเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการที่จะลดความเสี่ยงภายในประเทศได้ เนื่องจากในขณะที่เรากำลังประสบปัญหาภายใน ซึ่งประเทศอื่นๆไม่ได้ประสบปัญหาดังกล่าวด้วย

การกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ระหว่างประเทศเป็นการเปิดโอกาสในการสร้างผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่หลากหลายกว่า เนื่องจากขนาดของตลาดการเงินไทยที่เมื่อเทียบกับตลาดโลกแล้ว ยังนับว่ามีขนาดเล็ก และมูลค่าการซื้อขายที่ยังน้อยมากเมื่อเทียบกับหลายๆตลาดหลักทั่วโลก

ในปัจจุบัน ตลาดการลงทุนเปิดเสรีมากขึ้น การลงทุนในต่างประเทศทำได้สะดวกขึ้นมาก ทั้งทางตรงและทางอ้อม เราสามารถเข้าถึงสินทรัพย์การลงทุนในต่างประเทศได้ด้วยจำนวนเงินที่ต่ำกว่ายุคก่อน ไม่ว่าจะผ่านช่องทางกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) ที่มีการไปลงทุนต่างประเทศ หรือกองทุนรวมที่ไปลงทุนในกองทุนต่างประเทศอีกที หรือที่เรียกกันว่า “Feeder Fund”

หรือตัวอย่างในรูป ก็เป็นตัวอย่างพอร์ตการเกษียณระยะยาวที่ใช้เครื่องมือในการลงทุนที่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีทั้ง LTF และ RMF ก็จะแนะนำให้มีการแบ่งเงินลงทุนส่วนหนึ่งไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และหุ้นต่างประเทศ เช่นกัน

[สรุป] การกระจายความเสี่ยงที่ดี ผลตอบแทนที่ได้รับนั้นต้องเพียงพอต่อการบรรลุเป้าหมายการลงทุนด้วย การกระจายมั่วๆ โดยที่ไม่สนใจผลตอบแทนเลย ยังถือว่ากระจายความเสี่ยงได้ไม่ดีพอ