หลายท่านคงมีข้อสงสัยว่าที่ปรึกษาทางการเงินหรือนักวางแผนการเงิน เขาทำอะไรกัน แล้วทำไมเราต้องมีที่ปรึกษาทางการเงิน แล้วเราจะเลือกที่ปรึกษาทางการเงินกันอย่างไรดี? ผมขออนุญาติเรียนนำเสนอทุกท่านดังนี้ครับ หน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงินคือการให้คำแนะนำ คำปรึกษา หรือจัดทำแผนการเงิน เพื่อให้ผู้รับคำปรึกษามีโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายทางการเงินที่กำหนดไว้ในอนาคต เช่น แผนบริหารรายรับ-รายจ่าย แผนเกษียณอายุ แผนการศึกษาบุตร แผนภาษี แผนความคุ้มครอง และแผนมรดก เป็นต้น
ในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่ปรึกษาทางการเงินจะมีบทบาทที่สำคัญมาก ในการสร้างความมั่งคั่งและมั่นคงอย่างยั่งยืนให้กับประชาชน ช่วยสร้างประเทศให้มีความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจอย่างแท้จริง
ดังนั้นบุคลากรที่จะเป็นที่ปรึกษาทางการเงินได้ ต้องผ่านการเรียนรู้และการอบรมหลักสูตรวิชาชีพนี้ รวมทั้งกรณีให้คำแนะนำหรือบริการสินค้าทางการเงินก็ต้องมีใบอนุญาติจากหน่วยงานกำกับดูแล ไม่ว่าจะเป็นใบอนุญาติผู้แนะนำการลงทุนหรือผู้วางแผนการลงทุน จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ใบอนุญาติตัวแทนประกันชีวิตและวินาศภัย จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เป็นต้น
ประโยชน์ที่ท่านจะได้รับจากการมีที่ปรึกษาทางการเงิน คือการบริหารจัดการเงินอย่างประสิทธิภาพมายิ่งขึ้น เช่น ทำอย่างไรให้เงินเรามีโอกาสงอกเงยมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรที่จะบริหารความเสี่ยงไม่ว่าจะเป็นชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างคุ้มค่า เพื่อทำให้เป้าหมายในชีวิตเราเป็นจริงขึ้นมาได้
เห็นไหมครับ คำว่า “ทำอย่างไร” คือสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ที่ปรึกษาทางการเงินจะให้คำแนะนำท่าน เพราะมันคือบทบาทหน้าที่ของพวกเขาครับ
มีคนจำนวนมากที่เข้าใจว่าคนรวยเท่านั้นถึงมีโอกาสวางแผนการเงิน ประเด็นนี้ไม่จริงครับ คนทุกคนไม่ว่ามั่งมีหรือยากจนก็สามารถที่จะวางแผนการเงินได้ทั้งนั้น ยิ่งถ้าเป็นคนที่มีฐานะทางการเงินอ่อนแอ ยิ่งต้องวางแผนการเงินครับ ผมเชื่อว่าทุกชีวิตต่างมีความต้องการที่จะใช้ชีวิตตนมีความสุขมากยิ่งขึ้น เช่น อยากมีบ้านสักหลัง อยากมีรถสักค้น อยากให้ลูกเรียนสูงๆ อยากสบายตอนเราชราภาพ อยากมีสวัสดิการมารองรับยามเราเจ็บป่วย เป็นต้น
“คนทุกคนไม่ว่ามั่งมีหรือยากจนก็สามารถที่จะวางแผนการเงินได้ทั้งนั้น ยิ่งถ้าเป็นคนที่มีฐานะทางการเงินอ่อนแอ ยิ่งต้องวางแผนการเงิน ครับ”
สุดท้ายมีคำกล่าวที่ว่า “ใครเจอเรา ชีวิตต้องดีขึ้น” การให้ความรู้ ความเข้าใจ ทางด้านการวางแผนการเงินที่ถูกต้อง การนำเสนอสินค้าที่เหมาะสมรวมทั้งการบริการลูกค้าด้วยความปรารถนาดี จึงถือเป็นภารกิจที่สำคัญที่สุดของที่ปรึกษาทางการเงิน
เราพร้อมที่จะบริการทุกท่าน ลองติดต่อมาคุยและปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของเรา เพราะเราสามารถ สร้างมั่งคั่งอย่างมั่นคง ให้ชีวิตท่านได้ได้อย่างแน่นอนครับ
คลิก เพื่อรับข้อมูลที่ปรึกษาการเงินเพิ่มเติมฟรี
สมัครร่วมงานที่ปรึกษาการเงิน
https://form.jotform.me/62262198232454
27 มีนาคม 2560
10 มีนาคม 2560
เก็บเงินออมหลักหมื่น ได้เป็นเงินเกษียณหลักล้าน
บ่อยครั้งที่เรามักจะเห็นโปรโมชั่น การผ่อนมือถือ
ผ่อน 0% นาน 6 เดือนบ้าง 10 เดือนบ้าง
ทำให้เราก็ตัดสินใจซื้อมือถือเครื่องใหม่ได้ง่ายๆ
แค่ผ่อนเดือนละ 2,000-3,000 บาทเอง
ในทางการเงินนั้นมูลค่าของมือถือจะลดลงเรื่อยๆ
พอใช้งานไป 3-5 ปีแทบจะหมดมูลค่าของมัน
แต่หากเราเปลี่ยนการผ่อนในรูปแบบนี้
มาออมในสินทรัพย์ที่เพิ่มมูลค่าในอนาคต
เช่น หุ้น หรือ กองทุนรวม จะสามารถมือเงินเก็บหลักล้านได้ในระยะยาว
ผ่อน 0% นาน 6 เดือนบ้าง 10 เดือนบ้าง
ทำให้เราก็ตัดสินใจซื้อมือถือเครื่องใหม่ได้ง่ายๆ
แค่ผ่อนเดือนละ 2,000-3,000 บาทเอง
ในทางการเงินนั้นมูลค่าของมือถือจะลดลงเรื่อยๆ
พอใช้งานไป 3-5 ปีแทบจะหมดมูลค่าของมัน
แต่หากเราเปลี่ยนการผ่อนในรูปแบบนี้
มาออมในสินทรัพย์ที่เพิ่มมูลค่าในอนาคต
เช่น หุ้น หรือ กองทุนรวม จะสามารถมือเงินเก็บหลักล้านได้ในระยะยาว
เช่นออมในกองทุนรวม เดือนละ 2,000 บาท
เป็นระยะเวลา 10 ปี
ผลตอบแทนจากกองทุนรวมเฉลี่ยปีละ 10%
(ดูจากผลงานอดีตย้อนหลัง)
อนาคตจะมีเงิน 382,498 บาท
เกิดส่วนต่างของผลกำไร 142,498 บาท
เป็นระยะเวลา 10 ปี
ผลตอบแทนจากกองทุนรวมเฉลี่ยปีละ 10%
(ดูจากผลงานอดีตย้อนหลัง)
อนาคตจะมีเงิน 382,498 บาท
เกิดส่วนต่างของผลกำไร 142,498 บาท
หากอดทนให้เวลา 20. ปี ในการออม
จะมีเงินอยู่ที่ 1,374,600 บาท
เกิดส่วนต่างผลกำไร 894,600 บาท
จะมีเงินอยู่ที่ 1,374,600 บาท
เกิดส่วนต่างผลกำไร 894,600 บาท
แต่หากอดทนได้ถึง 30 ปี "เราจะมีเงินในอนาคต 3,947,857 บาท !!"
เกิดส่วนต่างของกำไร 3,227,857 บาท
เกิดส่วนต่างของกำไร 3,227,857 บาท
ระยะเวลาในการออมที่ยาวพอ
เกิดความมหัศจรรย์ของผลตอบแทนทบต้น
ส่งผลให้เงินปลายทางต่างกันอย่างทวีคูณ
(จากการเก็บเงินเดือนละ 2,000 บาท)
นั่นเป็นที่มาของคำว่า
" ออมก่อนรวยกว่า "
เกิดความมหัศจรรย์ของผลตอบแทนทบต้น
ส่งผลให้เงินปลายทางต่างกันอย่างทวีคูณ
(จากการเก็บเงินเดือนละ 2,000 บาท)
นั่นเป็นที่มาของคำว่า
" ออมก่อนรวยกว่า "
ดังนั่นเเล้วการเก็บเงินเพื่อเกษียณ
เราสามารถเริ่มต้นจากเงินออมก้อนเล็กๆ 10%-15% ของรายได้
ให้ผ่านวันเวลาที่เกิดดอกเบี้ยทบต้น
ก็จะกลายเป็นเงินเกษียณก้อนใหญ่ของเราได้
เราสามารถเริ่มต้นจากเงินออมก้อนเล็กๆ 10%-15% ของรายได้
ให้ผ่านวันเวลาที่เกิดดอกเบี้ยทบต้น
ก็จะกลายเป็นเงินเกษียณก้อนใหญ่ของเราได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)