31 กรกฎาคม 2560

มาประเมิณว่า เรารอบรู้เรื่องการเงินและมีการวางแผนการเงินไว้แค่ไหน ?


รอบรูุ้และวางแผนการเงิน 



ถ้าพอจะทราบคร่าว ๆ ว่ามีทรัพย์สินและหนี้สินอยู่เท่าไหร่ เพราะได้ทำบัญชีทรัพย์สินหนี้สินอย่างสม่ำเสมอ

คุณเป็นคนที่เยี่ยมมาก สิ่งนี้สะท้อนว่าคุณมีการจัดการด้านการเงินอย่างเป็นระบบ และมีข้อมูลเพียงพอ
สำหรับการวางแผนและการตัดสินใจทางการเงิน
การจัดทำรายการทรัพย์สิน-หนี้สิน และปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ นอกจากจะป้องกัน
การหลงลืมแล้ว ยังทำให้คุณทราบฐานะทางการเงินที่แท้จริงของตนเอง และใช้ประกอบการวางแผนและ
ตัดสินใจด้านการเงินด้วย

ใช่เลย ได้เงินมาเมื่อไหร่ ฉันก็ออมเมื่อนั้น
คุณเป็นคนที่เยี่ยมมาก เพราะเมื่อมีรายได้เข้ามา คุณควรกันเงินส่วนที่ต้องการออมไว้ก่อนเป็นอันดับแรก 
ส่วนที่เหลือจึงค่อยนำไปใช้จ่าย เมื่อทำเช่นนี้ได้อย่างสม่ำเสมอ คุณก็จะมีเงินออมก้อนโตได้ภายในเวลาไม่นาน
โดยทั่วไปคนจะนำเงินไปใช้จ่ายจนหมด ทำให้ไม่เหลือเงินไว้เก็บออม การออมก่อนจ่ายจึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำ ดังนั้น
 คุณควรตั้งเป้าหมายการออมไว้และเมื่อมีรายได้เข้ามา ให้คุณกันเงินส่วนที่ต้องการออมไว้ก่อนเลย ที่เหลือจึงค่อยนำไปใช้จ่าย
 วิธีนี้จะช่วยให้คุณสามารถเก็บออมได้อย่างสม่ำเสมอ
ทุกความฝันสามารถเป็นจริงได้ด้วยการลงมือทำ เพียงแค่คุณตั้งเป้าหมายในการออมโดยเริ่มต้นด้วยจำนวนเงินน้อย ๆ ก่อนก็ได้
 เช่น ออมวันละ 10-20 บาท และกันเงินส่วนที่ต้องการออมไว้ก่อน เงินส่วนที่เหลือจึงค่อยนำไปใช้จ่ายในเรื่องที่จำเป็น
 รู้ไหมว่าเมื่อครบปีคุณก็จะมีเงินออมหลายพันบาทแล้วนะ

ตั้งงบประมาณค่าใช้จ่ายในแต่ละเรื่องไว้ และพยายามใช้จ่ายให้ไม่เกินงบประมาณนั้น

ดีเยี่ยม การตั้งงบประมาณไว้ล่วงหน้า และการรักษาวินัยทางการเงิน โดยใช้จ่ายตามงบประมาณที่ตั้งไว้ จะช่วยให้คุณ
ควบคุมค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี  แต่ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้น ขอให้ท่องไว้ให้ขึ้นใจ “ไม่ว่าราคาจะถูกแค่ไหน ถ้าไม่ใช้ ก็ไม่ควรซื้อ”

คิดถึงความจำเป็น ประโยชน์ใช้สอย คุณภาพ และราคาก่อนซื้อทุกครั้ง
เยี่ยมมาก คุณสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดี และยังได้ใช้ของที่มีคุณภาพในราคาประหยัดอีกด้วย
ก่อนซื้อของคุณควรใช้เวลาพิจารณานานขึ้นอีกสักหน่อย โดยอาจเดินไปที่อื่นก่อนก็ได้ แล้วลองถามตัวเองอีกสักรอบว่า
จำเป็นต้องซื้อของนั้นหรือไม่ ถ้าจำเป็นจึงค่อยเดินกลับมาซื้อก็ยังทัน
น่าเสียดายเงินที่ถูกใช้จ่ายโดยไม่ได้ประโยชน์ หากคุณควบคุมตนเองที่จะไม่ซื้อของไม่ได้ 
คุณอาจต้องใช้วิธีลดการไปห้างสรรพสินค้าโดยไม่มีเป้าหมาย ใช้จ่ายด้วยเงินสดแทนบัตรเครดิต
 หรือใช้เวลาให้มากขึ้นในการซื้อของแต่ละชิ้น เพื่อทบทวนอีกครั้งว่าคุณมีความจำเป็นต้องซื้อของชิ้นนี้หรือไม่ 
หากจำเป็นต้องซื้อ ก็ลองเดินดูจากหลาย ๆ ร้าน เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพ ราคา และข้อเสนออื่น ๆ ก่อนที่จะจ่ายเงินออกไป

การเก็บออมไว้ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เป็นจำนวนมาก ทำให้คุณเสียโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น 
ถ้ามีเงินออมแบบนี้มาก ๆ คุณควรแบ่งเงินบางส่วนไปไว้ในทางเลือกอื่น ๆ บ้าง เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่ดีสูงขึ้นภายใต้
ความเสี่ยงที่คุณยอมรับได้ เช่น เงินฝากออมทรัพย์พิเศษ เงินฝากประจำ กองทุนรวม ทั้งนี้ สิ่งที่คุณควรตระหนักไว้ก็คือ 
เงินจำนวนนี้อาจมีสภาพคล่องที่ต่ำลง และมีความเสี่ยงที่สูงขึ้น ดังนั้น คุณจึงควรศึกษาและใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบ
ก่อนตัดสินใจลงทุน

การเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่วัยเกษียณเพื่อลดความกังวลทางการเงิน ต้องอาศัยการวางแผน และดำเนินตามแผนตั้งแต่เนิ่น ๆ 

คุณควรเริ่มออมเงินเพื่อการเกษียณ และศึกษาเกี่ยวกับการทำประกันให้ครอบคลุมกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นไว้เสียตั้งแต่

วันนี้เลย 







19 กรกฎาคม 2560

รู้ไหมว่าสลากออมสินเหมาะสมกับใคร?



บางคนเวลาที่จะเริ่มลงทุน ก็มักจะซื้อสลากออมสินเป็นอันดับแรก หรือบางคนเวลาจะให้ของขวัญแก่บุตรหลาน ก็มักจะนึกถึงสลากออมสินเสมอ หรือผู้สูงอายุบางคนเมื่อเกษียณแล้ว ก็จะลงทุนแต่สลากออมสินเท่านั้น จึงมีข้อสงสัยกันว่า ทำไมคนถึงชอบซื้อสลากออมสินกัน แล้วสลากออมสินนั้นจริงๆ แล้วมันเหมาะสมกับใคร

ก่อนที่จะรู้ว่าสลากออมสินนั้นเหมาะสมกับใคร เราควรรู้รูปแบบการลงทุนและผลตอบแทนก่อน สลากออมสินเป็นสลากที่ขายโดยธนาคารออมสิน โดยสลากก็ถือเป็นตราสารหนี้อย่างหนึ่ง การซื้อสลากออมสินนั้นไม่ได้เป็นการฝากเงินไว้กับธนาคารแต่เป็นการซื้อเพื่อลงทุนและแถมยังได้ชิงโชครางวัลอีกด้วย ดังนั้น สลากออมสินจึงไม่ได้อยู่ในกฏเกณฑ์ของการคุ้มครองเงินฝาก แต่ธนาคารออมสินหรือรัฐบาลจะเป็นผู้รับประกันเองว่าผู้ลงทุนก็จะได้เงินคืนพร้อมดอกเบี้ยแน่ๆ ดังนั้นการลงทุนในสลากออมสินจึงเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อยมาก เรียกว่าปลอดภัย เงินต้นไม่สูญ ได้รับดอกเบี้ย และเผลอๆ ยังได้ลุ้นรางวัลอีก

เมื่อเรามาคำนวณผลตอบแทนของสลากออมสินกันว่าจริงๆ แล้วถ้าเราซื้อสลากออมสินไว้นั้นเราจะได้ผลตอบแทนเท่าไรกันแน่ ปกติสลากออมสินนั้นมีหลายรูปแบบ แต่ที่เป็นที่นิยมก็คือ สลากออมสินพิเศษอายุ 3 ปี สลากออมสินพิเศษอายุ 3 ปีนี้ มีหน่วยลงทุนละ 50 บาท มีสิทธิถูกรางวัลทุกเดือนเป็นเวลานานถึง 36 เดือน โดยมีรางวัลที่ 1 เป็นรางวัลสูงสุด จำนวน 3 รางวัล รางวัลละ 10 ล้านบาท และมีรางวัลอื่นๆ อีก 25 รางวัล รางวัลที่ต่ำสุดคือเลขท้าย 4 ตัว จำนวน 2 รางวัล รางวัลละ 150 บาท ถ้าถือสลากออมสินครบ 3 ปีก็รับเงินต้นคืนพร้อมดอกเบี้ยหน่วยละ 51.00 บาท (ข้อมูลจากเวบไซต์ธนาคารออมสิน ณ วันที่ 17 พค. 2559 ดอกเบี้ยมีการปรับเปลี่ยนขึ้นลงตามประกาศของธนาคาร) 

การจะลงทุนสลากออมสินให้คุ้มนั้นต้องซื้อสลากในจำนวนที่มากพอเพื่อให้ถูกทุกงวด ตัวอย่างเช่น ถ้าลงทุนด้วยเงินทุกๆ 5 แสนบาท ก็จะซื้อสลากออมสินได้ 1 หมื่นหน่วย (หน่วยละ 50 บาท) ดังนั้นก็จะถูกเลขท้าย 4 ตัวทุกๆ เดือนได้อย่างแน่นอน เลขท้าย 4 ตัวนั้นออกเดือนละ 2 รางวัล รางวัลละ 150 บาท รวม 36 เดือน ก็จะเป็นเงิน 2 x 150 x 36 = 10,800 บาท และเมื่อครบ 3 ปี ถอนเงินคืนได้หน่วยละ 51.00 บาท ก็จะเป็นเงิน 51.00 x 10,000 = 510,000 บาท รวมได้เงินคืนทั้งสิ้น 10,800 + 510,000 = 520,800 บาท อันนี้เป็นผลตอบแทนขั้นต่ำสุดถ้าหากเราลงทุนแค่ 500,000 บาท

หากคิดเป็นผลตอบแทนโดยไม่คำนึงถึงดอกเบี้ยทบต้นและโอกาสถูกรางวัลอื่นๆ จะได้ผลตอบแทนเท่ากับ 20,800 / 500,000 x 100 = 4.16% หรือเท่ากับ 4.16 / 3 = 1.38% ต่อปี ซึ่งจะน้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ราวๆ 3% ต่อปีอย่างเห็นได้ชัด

เมื่อเรารู้ถึงรูปแบบและผลตอบแทนของสลากออมสินแล้ว เราจึงสรุปได้ว่าสลากออมสินนั้นเหมาะสมกับ
  1. คนที่ไม่ชอบความเสี่ยงเลย ไม่สามารถสูญเสียเงินต้นจากการลงทุนได้ หรือ ต้องการเก็บเงินไว้ในช่วงระยะเวลา 3 ปีโดยที่เงินต้นไม่หายแต่ก็ได้ผลตอบแทนมากกว่าการฝากเงินในออมทรัพย์
  2. คนที่ชอบลุ้นรางวัลแล้วไม่อยากเสียเงินทุกครั้งเพื่อไปลุ้นรางวัล เพราะถ้าเราลงทุนซื้อล็อตตารี่ เมื่อไม่ถูกรางวัล เงินต้นก็จะหายเงินทันที แต่สลากออมสินถ้างวดนี้ไม่ถูก เราก็ยังสามารถไปลุ้นงวดหน้าได้ เงินต้นก็ไม่หาย
  3. คนที่อยากรับผลตอบแทนจากการลงทุนที่ไม่เสียภาษี  เพราะดอกเบี้ยและรางวัลที่ได้รับจากสลากออมสินนั้นไม่เสียภาษี

ดังนั้นการลงทุนในสลากออมสินนั้นไม่ได้เหมาะสมกับทุกคนเสมอไป บางสถานการณ์หรือบางเวลาสลากออมสินก็สามารถเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เหมาะกับโจทย์หรือเป้าหมายของบางคนก็เป็นไปได้ ขึ้นอยู่กับแผนการเงินหรือพอร์ทการลงทุนของแต่ละคนที่ได้รับการวางแผนมานะครับ