10 พฤษภาคม 2563

เมืองไทย โรคอะไรน่ากลัวกว่าโควิด19

COVID-19 โรคระบาดที่สร้างความหวาดกลัวไปทั่วโลก

ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ประกัน COVID ขายดีมาก ๆ คนตื่นตระหนกในการซื้อประกัน COVID

COVID-19 มี % การเสียชีวิต 1.8% สำหรับประเทศไทย

แต่ยังมีโรคที่น่ากลัวกว่า COVID-19

 และบางโรคที่เป็นแล้วนอกจากการเสียชีวิต ยังต้องเสียเงินอาจถึงขั้นล้มละลาย

หลายปีที่ผ่านมามีคนไทยที่เสียชีวิตด้วย “โรคร้ายแรง” เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และที่น่ากังวลมากกว่านั้น ก็คือ ค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาพยาบาลของแต่ละโรค เรียกได้ว่าอยู่ในระดับที่สูงมาก... คุณคิดว่าตัวเองพร้อมแค่ไหน หากโชคร้ายมาเยือน ?


เล่าให้ฟังกันก่อนดีกว่าว่า ในปัจจุบันสถิติการเสียชีวิตของคนไทย ซึ่งมีสาเหตุมาจาก 5 กลุ่มโรคร้ายแรง กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มโรคร้ายแรงที่มีผู้ป่วยอยู่ในระดับสูง ได้แก่

1. โรคมะเร็ง
มะเร็งร้ายครองอันดับ 1 ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งชนิดใด มะเร็งลำไส้ มะเร็งมดลูก หรือมะเร็งเต้านม ก็ล้วนแล้วแต่คร่าชีวิตคนไทยมาแล้วนักต่อนัก สถิติการเป็นมะเร็งของคนไทยนั้นเพิ่มสูงขึ้นถึง 70,000 คน และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ มะเร็งยังครองแชมป์การเป็นโรคที่มีคนเป็นมากที่สุดในประเทศ อันดับที่ 1 ถึง 5 ปีซ้อน และมีผู้เสียชีวิตไปด้วยโรคนี้ถึงปีละ 50,000 คนอีกด้วย

2. โรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคยอดฮิตที่คนไทยนิยมเป็นกันไม่แพ้มะเร็ง เพราะด้วยนิสัยการทานอาหารที่มีไขมันสูง ไม่ยอมออกกำลังกาย สูบบุหรี่จัด ปล่อยตัวเองให้อ้วน เป็นโดยพันธุกรรม และคร่ำเคร่งอยู่กับงานตลอดทั้งวัน และยังเป็นอีกหนึ่งโรคแทรกซ้อนของผู้ที่เป็นเบาหวาน

3. โรคปอดเรื้อรัง
โรคปอดเรื้อรังสามารถกลายเป็นโรคถุงลมโป่งพอง ที่เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดต่าง ๆ เข้ามาอยู่ในชั้นเยื่อบุ และชั้นใต้เยื่อบุมากขึ้น ต่อมผลิตเมือกที่อยู่ใต้ชั้นเยื่อบุจะมีขนาดใหญ่ขึ้น และผลิตเมือกเข้าสู่หลอดลม จนทำให้เซลล์ที่ทำหน้าที่กวัดกวาดสิ่งสกปรกโดนเมือกเคลือบ แล้วนำพาเอาเมือกจากจุดอื่น ๆ เข้าสู่หลอดลมอย่างล้นหลาม และถุงลมก็จะถูกทำลายจนหายไป

4. โรคความดันโลหิตสูง
หรือโรคภาวะความดันโลหิตสูง โดยมีความดันสูงถึง 140/90 มิลลิเมตร – ปรอท ขึ้นไป โดยที่ความดันของคนปกติจะอยู่ที่ 90 – 119/60 – 79 มิลลิเมตร – ปรอท ถ้ามีอาการมึนหัว วิงเวียนศีรษะ สับสน เจ็บหน้าอก ใจสั่น เหงื่ออกมาก และปวดศีรษะมาก ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

5. โรคเบาหวาน
คือโรคที่ร่างกายสร้างฮอร์โมนอินซูลินมามาก จนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ร่างกายจึงไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม และตับอ่อนทำงานได้อย่างไม่เต็มที่ จนไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้งานได้ หรือใช้งานได้น้อย จนทำให้น้ำตาลค้างอยู่ในเลือดสูง

โรคพวกนี้เป็นประเภทโรคเรื้อรัง ทำให้เกิดการรักษาอันยาวนานเป็นเวลาหลายปี โดยเฉพาะโรคมะเร็งจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมากๆ
ตามภาพตัวอย่างค่ารักษาพยาบาลโรคมะเร็ง


ดังนั้น ด้วยปัจจัยด้าน แนวโน้มอัตราการเสียชีวิตจากโรคร้ายแรงเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง รวมกับค่ารักษาพยาบาลที่อยู่ในระดับสูงมาก ผู้ป่วยด้วยโรคเหล่านี้ จึงจำเป็นที่จะต้องเตรียม “เงินก้อน” ไว้เป็นค่ารักษาพยาบาล หรือไว้รองรับค่าใช้จ่ายในครอบครัว ระหว่างที่ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลจนไม่สามารถหารายได้สำหรับการใช้จ่ายได้

การทำ “ประกันโรคร้ายแรง” จึงน่าจะเป็นทางเลือกที่สามารถตอบโจทย์ได้ดีในเรื่องนี้ เพราะประกันโรคร้ายแรงมักจะมีระดับค่าเบี้ยประกันที่ไม่สูงนัก แต่ได้วงเงินความคุ้มครองในระดับที่สูง ซึ่งอาจเพียงพอกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่อาจเกิดขึ้นไดั แทนที่จะต้องเตรียมเงินก้อนไว้เป็นจำนวนมาก การทำประกันโรคร้ายแรงจะช่วยให้เรามีวงเงินฉุกเฉิน ในกรณีที่เกิดเป็นโรคร้ายแรง
ใช้เงินก้อนเล็ก ปกป้องเงินก้อนใหญ่ เป็นการบริหารจัดการความเสี่ยง  จ่ายเบี้ยประกันหลักหมื่น เพื่อจะได้มีเงินหลักล้านในการรักษา และสามารถปกป้องเงินออมที่เราจะไว้ใช้ในเรื่องต่าง ๆ ได้ เช่นการเกษียณ
ไม่ต้องลำบากคนรอบข้าง ถ้าเกิดเป็นมะเร็ง  พ่อแม่หรือคนที่เป็นห่วงเราอาจจะต้องเดือดร้อนมาช่วยเหลือเรา ดีกว่าไหม ที่เราจะสามารถช่วยเหลือตัวเองได้

#ประกันโรคร้ายแรง
#โควิด19 ร้ายไม่เท่าโรคมะเร็ง

#ที่ปรึกษาด้านประกันชีวิต,ประกันภัยและการเงินการลงทุน ขอแนะนำตัว
กดดูการบริการนามบัตรดิจิตอลนี้ได้เลย (รับสมัครผู้สนใจมาร่วมงานด้วยครับ)
https://easyapp.work/Apps/nc/index.php?uid=6ce0b84065

แอดไลน์มานะครับ ยินให้คำปรึกษาบริการและมาร่วมทีมทำงานด้วยกัน
http://line.naver.jp/ti/p/TUYJsWZQXC

10 เมษายน 2563

 “สุขภาพ (ร่างกาย)” กับ “การเงิน” 
6 วิธีง่ายๆ เพื่อสุขภาพการเงินที่ดี

หลายๆ คนอาจจะเริ่มสงสัยว่าตกลงคำว่า “สุขภาพ (ร่างกาย)” กับ “การเงิน” จริงๆ แล้วมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ 
การที่เราต้องตรวจเช็ค “สุขภาพร่างกาย” เป็นประจำทุกปี ถ้าพบว่ามีการเจ็บป่วย ก็ควรจะรีบไปพบแพทย์ จะได้รีบรักษา ถ้ายังไม่เจ็บป่วย ก็อย่าเพิ่งชะล่าใจ ควรหาทางป้องกัน การตรวจเช็ค “สุขภาพทางการเงิน” เพื่อประเมินว่าสุขภาพทางการเงินของเรานั้นแข็งแรงหรืออ่อนแอ ต้องเยียวยาแก้ไขหรือไม่อย่างไร คล้ายๆกัน
คนไทยส่วนใหญ่มีเงินออมไม่พอใช้ สาเหตุจากชีวิตเน้นไลฟ์สไตล์ รวดเร็ว ติดโซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้น แถมมีค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นจำพวกสุรา บุหรี่ในสัดส่วนสูง และยังออมผิดที่ผิดทาง ป้องกันความเสี่ยงระดับต่ำ" 
ไลฟ์สไตล์ส่วนตัวจะส่งผลกระทบระยะยาวต่อการออมและทำให้ไลฟ์สไตล์หลังเกษียณอายุไม่สวยหรูอย่างช่วงที่ยังมีกำลังทำงานหาเงิน แต่ต้องยอมรับความจริงเมื่อผลศึกษาออกมาว่า "คนไทยมีเงินเหลือใช้ไม่ถึง 6 เดือนเมื่อหยุดทำงาน" ไม่มีการเตรียมเงินฉุกเฉินไว้อย่างเพียงพอ ภาวะวิกฤติจากโควิด-19 เช่นนี้น่าจะลำบากกันแน่
# อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ใช้เวลาว่าง ตรวจสุขภาพการเงินกันดีกว่า 

หากคุณตอบคำถามแบบเดียวกับที่เรากำหนดมา นั่นหมายความว่า คุณกำลังใช้ชีวิตอยู่ในภาวะเสี่ยง อาจนำพาตัวเองไปล้มเหลวทางการเงินโดยไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจไว้ก่อนได้ หากพฤติกรรมของคุณเป็นไปตาม 6 ข้อด้านล่างนี้ระบุไว้ คุณควรหาทางแก้ไขอย่างเร่งด่วนนะครับ ก่อนปัญหาจะถาโถมจนคุณรับมือกับมันไม่ไหว 

1. คุณทราบหรือไม่ว่าตอนนี้คุณมีเงินสด ทรัพย์สินอื่นๆ และหนี้สินอยู่จำนวนเท่าใด ? 
หากคุณตอบไม่ได้ ขอกลับไปสำรวจก่อน การตอบเช่นนี้ หมายความว่าคุณอยู่ในภาวะที่เสี่ยงมาก หนี้สินก็ไม่รู้ว่ามีอยู่เท่าไร เงินทองทรัพย์สินที่ตัวเองมีก็ยังไม่รู้อีก มันอาจจะทำให้คุณตกหลุมพรางความโลภ หรือความปรารถนาถึงสิ่งที่คุณอยากได้อยากมีสินค้าใดก็ตามที่โผล่มาอยู่ตรงหน้าคุณกะทันหัน หากคุณห้ามใจไว้ไม่ได้ หรือไม่ได้เป็นคนวางแผนในการใช้จ่ายเงิน เงินคุณจะไหลออกไปเรื่อยๆโดยคุณไม่รู้ตัว 

รู้ตัวอีกทีก็ใช้เงินจนหมุนกันไม่ทันเสียแล้ว สิ่งที่คุณต้องทำคือ เอารายได้ และรายจ่าย หนี้ เอาออกมากางให้หมด เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์ทางการเงินของตัวเองครับ 

2. คุณออมเงินอย่างสม่ำเสมอหรือไม่ 
หากคุณตอบว่า..คุณไม่เคยออมเงินได้เลยสักครั้ง การออมเงินเป็นเรื่องไกลเกินฝัน ตอบอย่างนี้ชีวิตเริ่มมีปัญหาแล้วนะครับ นอกจากจะไม่รู้ว่ามีเงินและสิ่งที่ต้องจ่ายอยู่ในครอบครองเท่าไรแล้ว ยังไม่มีเงินออมอีก อย่างนี้ถ้ามีเรื่องฉุกเฉินต้องจ่ายเงิน จะเจอปัญหาชักหน้าไม่ถึงหลัง หยิบยืมชาวบ้านมาใช้แน่ๆครับ 

3. คุณทำอย่างไรกับการใช้จ่ายในแต่ละเดือน 
หากคุณตอบว่า..มีอะไรก็จ่ายๆ ไป ไม่จำเป็นต้องกำหนดงบประมาณ ไม่จำเป็นต้องทำบันทึกรายรับ-รายจ่าย 
ตายแล้วววว ตอบอย่างนี้ เจออุบัติเหตุทางชีวิตนี่คุณมีสิทธิเจอทางตันในการแก้ปัญหาได้เลยนะครับ เริ่มเลยครับ บันทึกเสียตั้งแต่วันนี้ คุณจะได้เข้าใจสถานการณ์ทางการเงินของตัวคุณเอง ได้เรียนรู้ว่าอะไรควรจ่าย อะไรควรประหยัด เริ่มทำเสียนะครับ เริ่มต้นเดือนใหม่แล้ว 

4. คุณมีวิธีเลือกซื้อสินค้าหรือบริการอย่างไร
หากคุณตอบว่า..เห็นก็ซื้อได้ทันที แล้วก็พบว่า มีสินค้าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เป็นจำนวนมากมายถูกกองไว้รอบบ้านแบบทิ้งๆ ขว้างๆ อยู่ในบ้าน 
โอ้วว เป็นการใช้เงินที่อันตรายมากเลยครับ ปรับแก้เสียนะครับ ถ้ารู้สึกว่าอยากได้สินค้านั้นเหลือเกิน ทิ้งเวลาให้ผ่านไปสัก 48 ชั่วโมงครับ จะได้รู้ว่า สินค้านั้นเราอยากได้หรือมันเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องซื้อจริงๆ หรือไม่ 

5. ถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ไม่ว่าคุณจะถูกไล่ออก ประสบอุบัติเหตุ ป่วยจนไม่สามารถทำงานต่อไปได้อย่างกะทันหัน คุณคิดว่าคุณจะมีเงินสำรองใช้เลี้ยงชีพคุณได้นานที่สุดเป็นระยะเวลาเท่าใด 
หากคุณตอบว่า..ไม่เกิน 3 เดือน . . นี่อยู่ในขั้นอันตรายมากนะครับ ยิ่งถ้าหากคุณมีค่าใช้จ่ายประจำที่ต้องจ่ายทุกเดือน ไม่ว่าจะเป็นค่าผ่อนรถ ค่าเช่าบ้าน แถมยังมีหนี้รายเดือนที่ต้องคอยโปะอีก ดันมาเจออุบัติเหตุไม่คาดฝัน ชีวิตคุณยุ่งแน่ๆ ครับถ้าไม่วางแผนจัดการเงินดีๆ อะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้กับชีวิตเรา อย่าใช้ชีวิตประมาทเลยนะครับ เริ่มออมเงินสำหรับส่วนที่ต้องใช้จ่ายฉุกเฉินเสียนะครับ ก่อนที่จะสายเกินไป 

6. คุณเตรียมตัวสำหรับเกษียณอายุไว้อย่างไรบ้าง 
หากคุณตอบว่า .. ยังไม่แน่ใจว่าจะสามารถมีเงินใช้ในยามเกษียณได้อย่างเพียงพอ . . อันนี้หากมันเกิดอุบัติเหตุหรือคุณป่วยจนเป็นเหตุให้อายุสั้นกะทันหัน แล้วคุณไม่ต้องแบกรับภาระค่ารักษาก่อนเสียชีวิต อันนี้ก็คงไม่เป็นภาระชีวิตเท่าไร แต่หากคุณมีชีวิตยืนยาวหลังเกษียณ แต่ดันมีเงินเหลือเก็บร่อยหรอ มันจะลำบากเอานะครับ 


รีบคำนวณและวางแผนเสียตั้งแต่ตอนนี้เถิดครับ ชีวิตคุณจะได้สุขสบายยามแก่เฒ่า ไม่เป็นภาระญาติมิตร ลูกหลาน และตัวเองด้วยนะครับ 


19 สิงหาคม 2562

4ขั้นตอนวางแผนการเงินและเครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสม

4ขั้นตอนวางแผนการเงินและเครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสม


ด่านแรกของการวางแผนการเงิน คือ
การสร้างความมั่งคั่ง (Wealth Creation) จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนบริหารรายรับ - รายจ่าย และหนี้สิน เนื่องจากการที่เราจะเริ่มมีความมั่งคั่งได้ เราก็ต้องทำงาน เมื่อเราทำงาน เราก็มีรายรับ ขณะที่เรามีรายรับ เราก็มีรายจ่ายที่ต้องใช้ในการดำเนินชีวิต และในการดำเนินชีวิตบางครั้งเราก็อาจจะต้องใช้ "เครดิต" มาช่วยในการบริหารกระแสเงินสด เพื่อให้เรามีสินทรัพย์ที่เราต้องการในวันนี้ (เช่น บ้าน รถ หรือสิ่งของอื่นๆ) เราจึงต้องเรียนรู้ที่จะบริหารจัดการ รายรับ / รายจ่าย / หนี้สิน อย่างมีประสิทธิภาพ ให้มี "เงินเหลือ" (Surplus) เพื่อเป็นการออมไว้ใช้ในอนาคตยามที่เราไม่มีรายได้แล้ว (เช่น ตอนเกษียณ) หรือเอาไว้เป็นเงินสำรองเผื่อเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ เป็นต้น ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นรากฐานสำคัญที่สุดในทางการเงิน คนเราจะมีความมั่งได้ ต้องเริ่มจากนิสัยทางการเงิน ในการบริหารรายรับ รายจ่ายที่ดีก่อนครับ



สินค้าทางการเงินที่เหมาะสมสำหรับการบริหารเงินในขั้นตอนนี้ :

1) บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ = มีสภาพคล่องสูง สามารถฝากเข้าถอนออกได้ตลอดเวลา แต่ผลตอบแทนต่ำ จึงมีไว้เป็นที่เก็บเงินสำหรับเงินที่ต้องใช้จ่ายประจำ มีเงินเข้าเงินออกสม่ำเสมอ เช่น ไว้จับจ่ายใช้สอย เป็นค่ากินอยู่ในแต่ละเดือนเท่านั้นพอ (ไม่ควรไว้นานกว่านั้น เพราะผลตอบแทนต่ำ) หรืออาจไว้สำหรับเป็นเงินสำรองเผื่อกรณีฉุกเฉินที่ต้องใช้เงินทันด่วน (ควรมีไว้ 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือนพอ)

2) บัญชีเงินฝากประจำ / เงินฝากสหกรณ์ / เงินฝากอื่นๆ / ตั๋วเงินคลัง / พันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น /ตราสารหนี้ระยะสั้น = มีสภาพคล่องต่ำกว่าออมทรัพย์ (ถูกบังคับให้ต้องฝากต่อเนื่อง เช่น ตั้งแต่ 1-3 ปี) แต่ผลตอบแทนสูงกว่า จึงเหมาะกับการเป็นที่พักเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายประจำ เพื่อเป็นเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน หรือเก็บออมไว้สำหรับเป้าหมายระยะสั้น-กลาง ภายใน 1-3 ปี (เช่น เก็บเงินแต่งงาน, ดาวน์บ้าน/รถ, ท่องเที่ยวต่างประเทศ เป็นต้น)

3) กองทุนรวมตลาดเงิน = เป็นกองทุนที่นำเงินไปลงทุนในเงินฝากหรือพันธบัตรระยะสั้นหลายๆที่ จุดเด่นคือ มีสภาพคล่องสูงกว่าเงินฝากประจำ สามารถเอาเงินเข้าออกบัญชีกองทุนได้ตลอด (ใช้เวลารอ 1 วันหลังส่งคำสั่งซื้อหรือขายกองทุน) แต่มีอัตราผลตอบแทนพอๆกัน (ประมาณ 1.5-2% ต่อปี) จึงเหมาะสำหรับไว้เป็นที่พักเงินระยะสั้นที่เหลือจากการใช้จ่าย แทนที่บัญชีออมทรัพย์เพราะให้ผลตอบแทนสูงกว่า หรือใช้เป็น "ศูนย์กลางในการบริหารเงินระหว่างบัญชีธนาคารต่างๆ" ก็ได้ เพราะบางกอง สามารถผูกได้หลายบัญชีธนาคาร (ไม่เฉพาะธนาคารที่เป็นเจ้าของกองทุน) สามารถส่งคำสั่งซื้อกองทุน จากบัญชีธนาคารไหนๆ แล้วส่งคำสั่งขายกองทุน เพื่อเอาเงินเข้าบัญชีธนาคารไหนๆ ก็ได้ (สะดวกกว่าการไปกดเงินจากตู้เอทีเอ็มธนาคารหนึ่ง แล้วเดินไปฝากอีกธนาคารหนึ่ง เพราะสามารถทำผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้เลย)

4) ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ระยะสั้น-กลาง (ระยะเวลาสัญญา3-7 ปี)= เป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อบังคับให้เราออมเงิน จะได้เก็บเงินให้อยู่เป็นเงินก้อนใหญ่ โดยมีการคุ้มครองชีวิตพ่วงด้วย นั่นเอง

5) บัตรเครดิต = เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารกระแสเงินสดเพื่อความสะดวก ในการซื้อสินค้าและบริการ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องพกเงินเยอะๆไปจ่ายเป็นก้อนเดียว แต่สามารถจ่ายทีหลัง หรือทยอยจ่ายได้ (เช่นพวก ผ่อน 0%) ทำให้เราไม่ต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่ในคราวเดียว เราจึงสามารถนำเงินไปบริหารจัดการเรื่องอื่นๆได้ แล้วสามารถทยอยจ่ายได้ในอนาคต ***แต่สำคัญว่า เราต้องมีเงินเพียงพอที่จะซื้อสินค้านั้นแล้วเท่านั้น เพื่อให้แน่ใจว่าเรามีเงินจ่ายคืนชัวร์ๆ ไม่โดนชาร์จดอกเบี้ยสูงๆ (เฉลี่ย 20% ต่อปี) นอกจากนั้น ก็มีไว้เพื่อใช้สิทธิพิเศษ หรือโปรโมชั่นลดราคา หรือสะสมคะแนนในการใช้จ่ายต่างๆอีกด้วย

6) การใช้สินเชื่อเงินกู้ (O/D / P/N)= เป็นการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินเพื่อมาใช้บริหารสภาพคล่องในธุรกิจ หรือลงทุนระยะยาว หรือหากเป็นบุคคลธรรมดาก็ใช้เพื่อกู้ซื้อสินทรัพย์ที่มีราคาสูง เช่น บ้าน รถ ตามความจำเป็น ข้อสำคัญคือ ต้องใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์ และต้องมีศักยภาพในการผ่อนชำระที่เหมาะสม

การปกป้องความมั่งคั่ง (Wealth Protection)

เมื่อเราบริหารรับ / รายจ่าย / หนี้สินได้ดี จนมีเงินเหลือ สะสมมากขึ้นเรื่อยๆแล้ว เราก็ควรจะปกป้องคุ้มครองเงินเหลือที่เราหามาได้ซะก่อน เพราะชีวิตมีความไม่แน่นอน หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน เช่น เจ็บไข้ได้ป่วยหนักๆหรือเป็นโรคร้ายแรง, ประสบอุบัติเหตุ ซึ่งต้องเสียค่ารักษาแพงๆ, เป็นคนทุพพลภาพ ทำงานไม่ได้ไม่มีรายได้ แต่ยังมีชีวิต ยังมีรายจ่าย หรือแม้กระทั่งเสียชีวิต ทำให้คนที่อยู่ข้างหลังขาดคนหารายได้มาเลี้ยงดู รวมไปถึงความสูญเสียในทรัพย์สินต่างๆ เช่น รถ บ้าน ธุรกิจ จากอุบัติเหตุ (รถชน ไฟไหม้ น้ำท่วม ฯลฯ) เราจึงต้องถ่ายโอนความเสี่ยงเหล่านี้ให้คนอื่น โดยการจ่ายเบี้ยประกันเล็กน้อย แลกกับวงเงินความคุ้มครองที่สูง ซึ่งก็คือ "การทำประกัน" นั่นเอง

สินค้าทางการเงินที่เหมาะสมสำหรับการบริหารเงินในขั้นตอนนี้ :

1) ประกันชีวิตแบบเน้นความคุ้มครองชีวิต (แบบตลอดชีพ หรือแบบชั่วระยะเวลา) = ไว้สำหรับปกป้องความเสี่ยง ไม่ให้คนข้างหลังเดือดร้อน หากเราจากไปอย่างกะทันหัน

2) ประกันสุขภาพและอุบัติเหตุ (รวมถึงประกันโรคร้ายแรงและทุพพลภาพ)= ไว้สำหรับคุ้มครองค่ารักษาแพงๆ มีเงินชดเชย รองรับกรณีเป็นโรคร้ายแรงหรือทุพพลภาพ

3) ประกันภัย (ประกันทรัพย์สิน) = มีไว้คุ้มครองความเสียหายของทรัพย์สิน ให้เราได้รับเงินชดเชย



เพิ่มพูนความมั่งคั่ง (Wealth Accumulation)

เมื่อเรามีเงินเหลือ และเงินเหลือได้รับการปกป้องเป็นอย่างดีแล้ว เราก็นำเงินที่เหลือไปต่อยอด เพื่อเพิ่มพูนความมั่งคั่งได้อย่างสบายใจ เพื่อให้เงินที่เรามีเติบโตเป็นก้อนใหญ่ไว้ใช้อย่างเพียงพอในวันที่เราไม่มีรายได้ในอนาคต (ตอนเกษียณ) ซึ่งก็คือ "การลงทุน" นั่นเอง นอกจากนั้น ระหว่างทางที่เราทำงาน มีรายได้ เราก็ต้องเสียภาษี จึงต้องมี "การวางแผนภาษี" เพื่อดึงรายได้ของเรากลับมาอย่างถูกต้องเหมาะสม ทำให้เรามีเงินเพิ่มขึ้นอีกด้วย

สินค้าทางการเงินที่เหมาะสมสำหรับการบริหารเงินในขั้นตอนนี้ :

1) หุ้นสามัญ / ตราสารทุน (Equity) = ผู้ถือมีฐานะเป็น "เจ้าของ" บริษัท ได้รับผลตอบแทนเป็นราคาหุ้นที่สูงขึ้น (Capital Gain) และเงินปันผล (Dividend) ที่ไม่แน่นอน (ขึ้นอยู่กับนโยบายและผลประกอบการของบริษัท)

2) หุ้นกู้ / ตราสารหนี้ระยะกลาง-ยาว / พันธบัตรรัฐบาลระยะยาว (Bond / Debentures) = ผู้ถือมีฐานะเป็น "เจ้าหนี้" ของผู้ที่ออก ได้รับผลตอบแทนเป็นราคาหุ้นที่สูงขึ้น (Capital Gain) หากมีการซื้อขายกันในตลาด และดอกเบี้ย (Interest) ที่จ่ายคงที่ แน่นอน

3) อสังหาริมทรัพย์ (Property)= ลงทุนเพื่อหวังรายได้จาก "ค่าเช่า" และ/หรือ ราคาที่เพิ่มสูงขึ้น

4) ทองคำ (Gold) = หวังผลกำไรจากราคาที่สูงขึ้น หรือถือไว้ เพื่อรักษามูลค่าของเงินลงทุน

5) อนุพันธ์ (Derivatives) เช่น Futures, Options = ใช้เพื่อบริหารความเสี่ยงในการลงทุน ด้วยการทำสัญญาว่าจะซื้อหรือขายไว้ล่วงหน้า หรือใช้เป็น "คานงัด" (Leverage) เพื่อเพิ่มอัตราผลตอบแทนให้สูงขึ้น ด้วยเงินลงทุนที่น้อยลงกว่าการไปลงทุนในหุ้นนั้นโดยตรง

6) อัตราแลกเปลี่ยน (Forex) = หวังผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนไป

7) กองทุนรวม (Mutual Fund)= หวังผลเหมือนกับการไปลงทุนในสินทรัพย์นั้นๆเองโดยตรง แต่มีความสะดวกกว่า เพราะไม่ต้องคัดเลือกสินทรัพย์เอง ไม่ต้องบริหารจัดการเอง หากเป็น RMF / LTF ก็จะได้สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีด้วย

😎 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) หรือกองทุนบำเน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) สำหรับราชการ = เป็นเครื่องมือในการลงทุนอัตโนมัติจากบริษัทที่ทำงาน คาดหวังผลลัพธ์เช่นเดียวกับการลงทุนในกองทุนรวมทั่วไป และได้สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีด้วย

9) ประกันชีวิตแบบออมทรัพย์ระยะยาว (แบบสะสมทรัพย์ ระยะยาว 7 ปีขึ้นไป, แบบบำนาญ) = ใช้เพื่อต้องการการันตีเงินส่วนที่จำเป็นในอนาคต ผลตอบแทนต่ำ แต่มีความแน่นอน และได้สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษี

ส่วนจะเลือกลงทุนในอะไร ก็แล้วแต่ความชอบ ความต้องการ ความรู้ ความถนัด หรือลงทุนในหลายๆสินทรัพย์ ตามสัดส่วนที่เหมาะสมกับพอร์ตการลงทุนที่วางแผนไว้ เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง ให้ได้ผลตอบแทนที่ต้องการ ในความเสี่ยงที่รับได้ ก็ได้ครับ



การส่งมอบความมั่งคั่ง” (Wealth Distribution) เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้
ในการบริหารจัดการความมั่งคั่ง เพราะจะช่วยให้สิ่งที่คุณสร้างสมและเก็บรักษามาตลอดชีวิตถูกจัดสรรให้แก่คนที่คุณรัก ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง หรือแม้กระทั่งการแบ่งปันให้กับผู้อื่นตามที่คุณต้องการ โดยหัวใจหลักของการส่งมอบความมั่งคั่งก็คือ “การวางแผนมรดก” ที่จะช่วยส่งผ่านความมั่งคั่งร่ำรวยจากรุ่นสู่รุ่น แถมยังช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าทรัพย์สมบัติทั้งหมดจะถูกสืบทอดไปตามเจตนารมณ์ของคุณ
หลังจากที่คุณได้สร้างและสะสมความมั่งคั่งของตนเองมาระดับหนึ่ง ก็ถึงเวลาคิดและถามตัวเองว่าตอนนี้คุณมีทรัพย์สินอะไรบ้าง? แต่ละอย่างมีมูลค่าเท่าไหร่? หรือหากวันนี้คุณเป็นอะไรไป ทายาทจะได้รับมรดกอย่างที่คุณอยากยกให้หรือไม่?
เป็นไปได้ว่า...ถ้าคุณไม่ได้มีการวางแผนและตระเตรียมทุกสิ่งทุกอย่างเอาไว้ตั้งแต่ตอนที่คุณยังมีชีวิตอยู่ ทรัพย์สมบัติของคุณอาจตกไปอยู่กับคนที่คุณไม่ได้ตั้งใจจะมอบให้ก็เป็นได้ ตัวอย่างก็มีให้เห็นตามข่าวหน้าหนึ่งอยู่บ่อยๆ... ญาติพี่น้องทะเลาะกันเพื่อแย่งชิงมรดก หรือลูกนอกสมรสออกมาเรียกร้องสิทธิในทรัพย์สมบัติ หนักเข้าก็ถึงขั้นฟ้องร้องขึ้นโรงขึ้นศาลเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โต เสียทั้งชื่อเสียงและเงินทอ
ขั้นตอนนี้อาจจะไม่ได้ใช้สินค้าทางการเงินเป็นหลัก แต่จะใช้ "กระบวนการ" มากกว่า เช่น การจัดทำพินัยกรรม, การวางแผนส่งมอบธุรกิจ, การจัดตั้งกองทรัสต์, การตั้งธรรมนูญครอบครัว ฯลฯ หากจะใช้สินค้าทางการเงิน ก็เช่น ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ เพื่อสร้างเงินมรดกการันตีให้ลูกหลาน เมื่อเราจากไป ก็ได้ครับ



19 เมษายน 2562

7 วิธีวางแผนการเงินให้รอดแม้เศรษฐกิจขาลง

หลายคนอาจจะเป็นห่วงความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจของโลกเรา เช่น ถ้าฟองสบู่แตกขึ้นมาอาจจะกระทบกับการเงินของเราได้ เราก็เคยเห็นตัวอย่างตอนเศรษฐกิจตกต่ำ ทำเอาหลายคนกินไม่ได้นอนไม่หลับไปหลายวัน เพราะฉะนั้น วันนี้จะมาบอกเคล็ดลับวางแผนการเงินให้ฟังกันครับ ว่าเราจะสร้างนิสัยวางแผนการเงินเพื่อป้องกันปัญหาทางเศรษฐกิจ หากเกิดอะไรขึ้นมา เราจะได้อยู่รอดปลอดภัยครับ



1
. มีกองทุนฉุกเฉิน

หากเพื่อนๆเก็บเงินอยู่ในกองทุนดอกเบี้ยสูงที่รับประกันความปลอดภัยระดับหนึ่ง เราก็จะแน่ใจได้ว่าเงินของเราจะยังอยู่ครบหากเกิดอะไรขึ้นได้ แถมยังสามารถถอนออกมาใช้ในยามฉุกเฉินได้ง่าย อย่างเช่น หากเราตกงานหรือมีค่าใช้จ่ายเงินใหญ่ครับ

2. อย่าใช้เงินเกินตัว

ถ้าเพื่อนๆชินกับการใช้เงินอย่างประหยัดและมีเงินเก็บเหลือในทุกวัน ก็เป็นการวางแผนการเงินที่ช่วยให้เรามีความเสี่ยงเป็นหนี้น้อย ถ้าเกิดราคาน้ำมันหรือค่าครองชีพแพงขึ้น เราก็จะสามารถปรับตัวได้ง่ายขึ้นครับ ถ้าเราเป็นหนี้อยู่แล้ว เกิดของราคาสูงขึ้นมาเราก็จะหาเงินมาโปะตรงนี้ได้ลำบาก
ถ้าเพื่อน ๆ จะพยายามมากกว่านี้อีกนิด ก็ลองวิธีวางแผนการเงินฉบับครอบครัวแบบนี้ครับ หากเราและคู่ของเรามีรายได้ทั้งคู่ เพื่อนๆลองใช้ชีวิตให้อยู่ในงบประมาณรายได้ของคนใดคนหนึ่งเท่านั้น ถ้าจะพอประหยัดได้ เพราะการวางแผนการเงินแบบนี้ ในเวลาปกติ เราก็จะมีเงินเหลือเก็บเยอะขึ้น แต่ถ้าเกิดคนใดคนหนึ่งถูกเลย์ออฟกะทันหันขึ้นมา บ้านเราก็จะยังอยู่ได้โดยไม่เดือดร้อนเกินไปครับ

3. มีแหล่งรายได้มากกว่า ทาง
แม้ว่าเรามีงานประจำอยู่แล้ว แต่เพื่อน ๆ ก็อาจจะลองหารายได้เสริมไว้บ้างนะครับ ไม่ว่าจะเป็นงานที่ทำออนไลน์ หรือขายของเล็ก ๆ น้อย ๆ นอกเวลางาน เพราะความไม่แน่นอนของธุรกิจในปัจจุบันทำให้เราต้องวางแผนการเงินอย่างรอบคอบ และเราไม่ควรจะพึ่งพารายได้จากแหล่งเดียวครับ อย่างน้อยถ้าเพื่อน ๆ ตกงานกระทันหัน ก็ยังมีงานรายได้เสริมที่จะช่วยให้เรามีเงินในช่วงที่หางานใหม่ได้ครับ เผลอ ๆ บางคนจับทางถูก ไม่ต้องง้องานประจำแต่เอางานเสริมมาเป็นรายได้หลักเลยก็มีนะครับ

4. วางแผนการเงินด้วยการลงทุนระยะยาว

ในบางครั้งถ้าเงินที่เราลงทุนไว้ขาดทุนเพราะว่าหุ้นตกก็อย่าเพิ่งตกใจไปนะครับ ขอให้เรามองยาว ๆ ก็น่าจะรู้ว่าตลาดมีวันขึ้นลงเป็นรอบ ๆ และในระยะยาวเพื่อน ๆ ก็สามารถขายทำกำไรได้อยู่แล้ว แต่ต้องระวังนิดนึงนะครับ ถ้าเราใกล้วัยเกษียณแล้ว อาจจะรอไม่ได้ เราต้องวางแผนการเงินอีกแบบ อาจจะย้ายเงินส่วนหนึ่งไปไว้ในกองทุนความเสี่ยงต่ำ หรือเลือกบัญชีเงินฝากประจำดอกเบี้ยสูงเอาไว้เพื่อให้มั่นใจว่าเราจะมีเงินใช้หลังเกษียณ

5. เข้าใจการยอมรับความเสี่ยงของตัวเอง

แม้ว่ากูรูการลงทุนหลายคนจะชอบพูดว่าอายุเท่านี้ควรจะวางแผนการเงินแบบนี้ โดยเฉพาะคนที่อายุน้อยควรจะลงทุนแบบความเสี่ยงสูง แต่ถ้าเพื่อนๆยอมรับความเสี่ยงสูงไม่ได้ ก็อาจจะต้องปรับการลงทุนของตัวเองครับ เราอาจจะต้องดูว่าความหวือหวาของทรัพย์สินแบบไหนที่เราพอรับได้ หากราคาหุ้นที่เราถืออยู่ตกไป 20 เปอร์เซ็นต์แล้วทำให้เรานอนไม่หลับทั้งคืนล่ะก็ เพื่อน ๆ ก็ต้องเปลี่ยนการวางแผนการเงินใหม่ เช่น เอาเงินไปใส่ไว้ในกองทุนที่ราคาไม่ได้ขึ้นลงมากจนเราตกใจแทนครับ แต่อย่างที่พี่หมีบอกไปแล้ว ถ้าเราเข้าใจการลงทุนในระยะยาว เราก็อาจจะต้องอดทนมากขึ้น และวางแผนการเงินให้ยอมรับความเสี่ยงได้มากขึ้นครับ

6. ลงทุนในหลาย ๆ แหล่ง

เพื่อน ๆ อาจจะเคยได้ยินคนที่บอกว่าถ้าเราเก็บเงินไว้ที่เดียวจะอันตรายมาก ซึ่งจริงครับ การวางแผนการเงินที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการลงทุนในทรัพย์สินหลายอย่าง เพราะถือเป็นการกระจายความเสี่ยงและกระจายอาการตกใจของเราครับ เช่นถ้าตอนนี้เพื่อน ๆ มีบ้านและมีบัญชีเงินออมทรัพย์ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะว่าถือว่าเราได้ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ 1 อย่างแล้วก็มีเงินสดเก็บไว้ 1 ที่ครับ แนะนำว่าพยายามหาแหล่งทุนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกันโดยตรง เพราะถ้าเกิดอันนึงราคาตก อีกอันขึ้น เราก็ยังพอจะอุ่นใจได้อยู่ครับ

7. รักษาคะแนนความน่าเชื่อถือของตัวเองให้ดี

เมื่อเศรษฐกิจขาลง แน่นอนว่าคนที่มีคะแนนความน่าเชื่อถือสูงก็จะได้รับอนุมัติเงินกู้ หรือเครดิตได้ง่ายกว่า พี่หมีเลยจะแนะนำให้เพื่อน ๆ วางแผนการเงินให้ดีตั้งแต่ตอนนี้ สร้างนิสัยการจ่ายบิลให้ตรงเวลา อย่าเปลี่ยนบัตรเครดิตบ่อยและให้สัดส่วนหนี้กับเครดิตที่ได้มีเงินเหลือไว้เยอะๆครับ ซึ่งนิสัยแบบนี้ไม่ได้ดีเฉพาะเวลาขาลงเท่านั้น แต่เป็นนิสัยที่จะทำให้เราไม่ต้องเป็นหนี้ในช่วงเวลาปกติด้วยนั่นเองครับ
 

เศรษฐกิจขาลงดูเหมือนจะเป็นเรื่องน่ากลัว แต่ถ้าเราวางแผนการเงินให้ดี ก็สามารถป้องกันผลกระทบและรักษาทรัพย์สินของเราไว้ให้ดีได้ครับ เพราะการเก็บเงินและการลงทุนต้องใช้เวลาทั้งนั้น

 สนใจเรื่องวางแผนการเงิน คลิก


10 พฤศจิกายน 2561

เกษียณสุขใจ...เตรียมตัวอย่างไรดี


พูดถึงเรื่องเกษียณกันเยอะมากช่วงนี้ เพราะบ้านเราตอนนี้กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ที่มีจำนวนมากกว่าวัยทำงาน
เมื่อถึงวัยเกษียณทุกคนก้อคงอยากเกษียณกันแบบมีความสุขใจกันใช่มั้ยครับ ขอแนะนำ3วิธีวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณสุขใจไปใช้กันครับ


เกษียณสุขใจ วางแผนอย่างไรดี
วางแผนเกษียณควรแบ่งเงินเป็น 3 ส่วน
1) สร้างสวัสดิการค่ารักษา เพราะตอนแก่ยังไงก็ป่วย หาคนอื่นมาจ่ายแทนดีกว่า แล้วไม่ใช่ไปคิดซื้อเอาตอนแก่ เพราะทั้งแพง และอาจจะทำไม่ได้เพราะสุขภาพไม่ดี ทีนี้จ่ายอานเลยครับ เงินที่หามาทั้งชีวิตจ่ายให้โรงพยาบาลหมด แถมเดือดร้อนลูกหลาน(ถ้ามี) เงินส่วนนี้วางแผนด้วยประกันทั้งหลาย วางแผนดีๆก็ไม่ต้องจ่ายทิ้งด้วยครับ
2) ค่าใช้จ่ายจำเป็นต่างๆ ปัจจัย 4 ที่จำเป็น อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่ ยารักษาโรค เงินก้อนนี้เป็น a must!! คือมันต้องมี ห้ามเสี่ยง ห้ามขาดทุน วางแผนเงินส่วนนี้ด้วย กองทุนรวมตลาดเงิน, ประกันบำนาญ จะให้ดีก็เอาแบบที่ลดภาษีได้ด้วย ได้เงินคือไปใช้ขำๆด้วยครับ
3) ลงทุนให้เงินโต เพื่อใช้ชีวิตอย่างที่เราต้องการ อยากเที่ยวก็ไป อยากกินอะไรก็กิน แต่ถ้าไม่มีส่วนนี้ก็ไม่ตาย ไม่เดือดร้อน พวกนี้จัดไปเลย หุ้น, กองทุนหุ้น, ทองคำ, อสังหาฯ
ไม่ได้ให้เลือกแบบใดแบบหนึ่งนะครับ ให้จัดสรรเป็นสัดส่วนให้ครบทุกแบบ ตามความจำเป็นและเหมาะสม แล้วคุณจะเกษียณแบบมีความสงบสุขทางใจ

12 กันยายน 2561

ทุกคนมีเงินล้านได้ แค่เปลี่ยนรายจ่ายเล็กน้อย ให้เป็นเงินออม


ทุกคนมีเงินล้านได้ แค่เปลี่ยนรายจ่ายเล็กน้อย ให้เป็นเงินออม และนำไปลงทุน



ลดการตามใจ ให้รายจ่ายเล็กน้อยที่เป็นประจำ นำมาออมด้วยการลงทุน แล้วคุณจะภูมิใจที่ได้มีเงินล้านในวันข้างหน้า ไม่ว่าจะ 10ปี 20ปี หรือ30ปี แต่มีแน่นอน



สมัครร่วมงานที่ปรึกษาการเงิน https://form.jotform.me/62262198232454

12 สิงหาคม 2561

“วงจรชีวิตกับการเงิน”

สนใจวางแผนการเงิน คลิกเลยครับ

“วงจรชีวิตกับการเงิน”
สิ่งนี้เป็นจุดเริ่มต้นและเหตุผลที่ทุกๆคนควร “วางแผนการเงิน”
คุณ Sanjay Tolini ที่ปรึกษาการเงินชื่อดัง เขาอธิบายเรื่องวงจรชีวิตของคนได้อย่างเรียบง่ายและน่าสนใจ
ถ้าดูจากในภาพจะเห็นว่า “วงจรชีวิตกับการเงิน” แบ่งเป็น 4 ช่วง คือ
ช่างที่ 1 : อายุ 0 – 20 ปี ช่วงเวลาของการเรียนรู้และเล่นในวัยเด็ก
ค่าใช้จ่ายทุกอย่างพ่อแม่เป็นคนดูแล
ช่วงที่ 2 : อายุ 20 – 40 ปี ช่วงเวลาเริ่มต้นการทำงานครั้งแรก
ซื้อรถคันแรก บ้านหลังแรก แต่งงาน มีลูก
ช่วงที่ 3 : อายุ 40 – 60 ปี มีการเติบโตในหน้าที่การงาน ย้ายงาน
ซื้อรถคันใหม่ บ้านหลังใหม่ ส่งลูกเรียน ดูแลครอบครัว
ช่วงที่ 4 : อายุ 60 – 80 ปี ช่วงเกษียณจากการทำงาน
ถึงเวลาของการพักผ่อนในบั้นปลายชีวิต
ถ้าดูให้ดีจะเห็นว่าครึ่งวงกลมด้านบนวัยเด็กและวัยเกษียณเป็นช่วงที่เรา “ไม่มีรายได้” แต่มี “ค่าใช้จ่าย”
ตอนเด็กยังมีพ่อแม่คอยดูแลค่าใช้จ่ายให้ แต่ตอนเกษียณใครจะมาดูแล ถ้าไม่เตรียมตัวให้ดี
สมมติตอนนี้อายุ 25 คิดว่าจะทำงานถึงอายุ 60 เราจะมีระยะเวลาทำงานหารายได้ 60 – 25 = 35 ปี
ใน 35 ปีนี้เป็นช่วงที่ท้าทายมากๆ เพราะ เป็นช่วงที่มีค่าใช้จ่ายต่างๆเข้ามาทั้งค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เช่น รถ บ้าน แต่งงาน มีลูก และค่าใช่จ่ายที่ไม่จำเป็นอีกมากมาย
แต่มีกฎธรรมชาติ 4 อย่างที่ทุกคนต้องเจอ คือ
โรคภัย
อุบัติภัย
จากไป
อยู่นานเกินไป
ทั้ง 4 อย่างนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะมีค่าใช้จ่ายตามมา
สิ่งสำคัญคือเมื่อเรารู้แล้วจะวางแผนรับมือกับมันอย่างไร?
เราคงไม่สามารถย้อนเวลากลับไปวางแผนตั้งแต่เกิดได้แต่เราเริ่มต้นวันนี้ได้
ใช้เวลา 35 ปีที่เหลือวางแผนให้ดี เริ่มต้นได้แล้ว เพราะมันเป็นช่วงเวลาเดียวที่เหลืออยู่
ใครมีเวลาต้องเริ่มศึกษาและลงมือทำ
ใครไม่มีเวลายิ่งต้องแบ่งเวลามาศึกษาและลงมือทำ
เมื่อเวลาผ่านไปจะได้ไม่ต้องมาบอกกับตัวเองว่า
“รู้งี้….”

24 กรกฎาคม 2561

ทำงานมาก็นาน รู้มั้ยเราควรมี เงินออม เท่าไหร่?



มนุษย์เงินเดือน ส่วนใหญ่ทำงานหนักตั้งแต่เช้ายันค่ำ ก็เพื่อหาเงินมาเลี้ยงดูความเป็นอยู่ของตนเองและครอบครัว บางคนทำงานทั้งวัน แต่เงินเดือนก็น้อยแบบเดือนชนเดือนอยู่ร่ำไป ส่วนหลายคนทำงานมาก็นมนานหลายสิบปี แต่ก็แทบจะไม่มีเงินเก็บเลยแม้แต่น้อย
เคยสงสัยไหมครับ ที่เราทำงานกันอยู่ทุกวันนี้ ตัวเราเองควรจะมีเงินเก็บเท่าไหร่แล้ว และเงินเก็บที่เรามีอยู่ มันเพียงพอหรือยังที่จะเหลือใช้แบบสบายๆ ไปจนถึงวันข้างหน้าแล้วหรือยัง
สูตรคำนวณเงินออม ฉบับมนุษย์วัยทำงาน
หลายๆ คนต้องเคยสงสัยกันแน่ๆ ว่าเงินออมเท่าไหร่ถึงจะเรียกว่ามากพอ แล้วเราทำงานมานานขนาดนี้เราควรจะต้องมีเงินออมเท่าไหร่ดี ซึ่งมันก็มี สูตรคำนวณ คร่าวๆ ที่จะสามารถบอกคุณได้นะครับว่าทำงานมาขนาดนี้ ควรมีเงินออมเท่าไหร่แล้ว
เงินออมที่ควรมี = 2 x (อายุปัจจุบัน-อายุที่เริ่มทำงาน) x (เงินเดือนปัจจุบัน+เงินเดือนที่เริ่มทำงาน)
ตัวอย่าง
คุณกระต่ายทำงานมาตั้งแต่อายุ 22 ปี มีเงินเดือนเริ่มต้น 15,000 บาท ปัจจุบันคุณกระต่ายอายุ 34 ปี มีเงินเดือนปัจจุบัน 40,000 บาท จากข้อมูลนี้ คุณกระต่ายควรจะมีเงินออมอยู่ที่
2 x (34-22) x (40,000+15,000) = 1,320,000 บาท
ซึ่งเงินออมที่ว่า ไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบเงินสดเสมอไป 100% โดยเราควรแบ่งสัดส่วนไว้ในสินทรัพย์ต่างๆ ตามระดับความเสี่ยงและเป้าหมายในการออมด้วย เช่น
สินทรัพย์ที่จับต้องได้ เช่น บ้าน ที่ดิน สินทรัพย์ให้เช่า เป็นต้น
สินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ เช่น สลากออมสิน เงินสด เงินฝากออมทรพย์ เงินฝากประจำ ตราสารหนี้ กองทุนรวม หุ้น ทองคำ เป็นต้น
คุณสามารถ สร้างอนาคตทางการเงิน ที่ดีได้ โดยเริ่มตั้งแต่วันนี้นะครับ เริ่มออมทีละนิดทีละหน่อย สักวันมันจะต้องไปถึงเป้าหมายที่คุณต้องการแน่นอน
#ACTIVE WEALTH
#สร้างมั่งคั่งอย่างมั่นคง

https://form.jotform.me/62262198232454