แนวความคิดการวางแผนด้านการเงิน
ต้องมีเป้าหมายชีวิต แล้วมากำหนดเป้าหมายทางการเงินให้สอดคล้องกัน
“ เป้าหมายทางการเงิน “ เป็นสิ่งที่ทุกคนวาดฝันไว้ เช่น อยากมีบ้านหลังโตๆ อยากได้รถ อยากมีเงินใช้เยอะๆ หลังเกษียณอายุ เป็นต้น ซึ่งหลายๆ คนสามารถทำตามฝันที่วางไว้ได้สำเร็จอย่างง่ายดาย บางคนต้องใช้ความพยายามอย่างมากจึงจะสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้ หรือบางคนสามารถทำตามความตั้งใจไว้ได้ โดยที่ไม่รู้เลยว่า สิ่งนั้นคือ เป้าหมายทางการเงิน การวางแผนทางการเงินเป็นตัวช่วยที่ทำให้เป้าหมายทางการเงินที่วางไว้ประสบผลสำเร็จได้เร็วขึ้น ดังนั้น เรามาเรียนรู้ถึงวิธีที่จะช่วยให้การวางแผนการเงิน เพื่อให้เป้าหมายทางการเงินประสบความสำเร็จได้
กำหนดเป้าหมายทางการเงิน
ดั่งสำนวนที่ว่า “เริ่มต้นดี มีชัยไปกว่าครึ่ง” สำหรับการตั้งเป้าหมายทางการเงิน หากมีการตั้งเป้าหมายที่ดี และเหมาะสมแล้ว ความเป็นไปได้ที่เป้าหมายทางการเงินนั้นจะประสบผลสำเร็จก็เป็นเรื่องที่ไม่ยากเกินความสามารถ ลักษณะของเป้าหมายทางการเงินที่ดีนั้น ประกอบไปด้วย 5 ปัจจัย หรือที่เราเรียกกันว่าการตั้งเป้าหมายทางการเงินที่ดีตามหลัก SMART ได้แก่
- S pecific : ชัดเจน ว่าต้องการอะไร
- M easurable : วัดผลได้ เพื่อให้รู้ว่าเป้าหมายใกล้สำเร็จหรือไม่ ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบตัวเงิน
- A ccountable : รู้ถึงแนวทางว่าทำอย่างไร เพื่อให้เป้าหมายนี้สำเร็จได้
- R ealistic : เป้าหมายควรท้าทาย แต่สามารถทำได้จริง
- T ime Bound : มีระยะเวลากำหนดแน่นอนว่า ต้องใช้เวลาเท่าไรจึงจะสำเร็จผลได้
- S pecific : ชัดเจน ว่าต้องการอะไร
- M easurable : วัดผลได้ เพื่อให้รู้ว่าเป้าหมายใกล้สำเร็จหรือไม่ ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบตัวเงิน
- A ccountable : รู้ถึงแนวทางว่าทำอย่างไร เพื่อให้เป้าหมายนี้สำเร็จได้
- R ealistic : เป้าหมายควรท้าทาย แต่สามารถทำได้จริง
- T ime Bound : มีระยะเวลากำหนดแน่นอนว่า ต้องใช้เวลาเท่าไรจึงจะสำเร็จผลได้
เป้าหมายทางการเงิน สามารถแบ่งแบบง่ายๆ ตามระยะเวลาได้ 3 แบบ คือ เป้าหมายระยะสั้น เป้าหมายระยะกลาง และเป้าหมายระยะยาว ซึ่งเป้าหมายในแต่ละช่วง จะมีความสำคัญมากน้อยแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการทางการเงินของแต่ละบุคคล โดยเป้าหมายทางการเงินในแต่ละช่วงอาจเป็นดังนี้
1. เป้าหมายทางการเงินระยะสั้น คือ เป้าหมายทางการเงินที่ต้องการทำให้สำเร็จภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี เช่น การศึกษาต่อปริญญาโท ซื้อรถยนต์ หรือสินค้าต่างๆ ที่มีมูลค่าสูง หรือท่องเที่ยวต่างประเทศ เป็นต้น
2. เป้าหมายทางการเงินระยะกลาง คือ เป้าหมายทางการเงินที่ต้องการทำให้สำเร็จภายในระยะเวลามากกว่า 3 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี เช่น การดาวน์เพื่อซื้อบ้าน หรือคอนโดมิเนียม การใช้จ่ายในงานแต่งงาน เป็นต้น
3. เป้าหมายทางการเงินระยะยาว คือ เป้าหมายทางการเงินที่ต้องการทำให้สำเร็จภายในระยะเวลามากกว่า 5 ปี เช่น การเกษียณอายุ การศึกษาบุตร เป็นต้น
เมื่อกำหนดเป้าหมายทางการเงินแล้วจึงหาที่อยูู่ของเงินให้เหมาะสมกับเป้าหมาย ซึ่งจะมีเรื่องเวลา ผลตอบแทน ความเสี่ยง และสภาพคล่อง เข้ามาเกี่ยวข้อง เงินอยู่แต่ละที่จึงทำหน้าที่แตกต่างกัน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายชีวิตอย่างมั่งคั่งและมั่นคง
การนำเงินออมเพื่อเป้าหมายการเงินนั้น ต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น ระยะเวลาการลงทุน ระดับความเสี่ยงของการลงทุนที่ยอมรับได้ ความสำคัญของเป้าหมาย เป็นต้น โดยอาจเลือกวางเงินไว้ตามระยะเวลาของเป้าหมายทางการเงิน ซึ่งผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะสม มีดังนี้
1. เป้าหมายทางการเงินระยะสั้น ควรลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินที่มีสภาพคล่องสูง และมีความเสี่ยงต่ำ เพราะมีระยะเวลาในการลงทุนสั้น จึงไม่สามารถแบกรับความเสี่ยงได้มากนัก หากประสบผลขาดทุนอาจทำให้เป้าหมายทางการเงินที่วางไว้ไม่ประสบผลสำเร็จ ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม เช่น เงินฝาก กองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมตราสารหนี้ เป็นต้น
2. เป้าหมายทางการเงินระยะกลาง สามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินที่มีสภาพคล่องน้อยกว่า เป้าหมายทางการเงินระยะสั้น เนื่องจากระยะเวลาในการออมเงินเพื่อเป้าหมายนานยิ่งขึ้น และสามารถลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินที่มีความเสี่ยงจากการลงทุนได้มากขึ้น โดยสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ตามระดับความเสี่ยงที่สามารถรับได้ ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม เช่น กองทุนรวมผสม (ตราสารหนี้ และหุ้น) กองทุนรวมหุ้น กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) กองทุนรวมที่ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ เป็นต้น
3. เป้าหมายทางการเงินระยะยาว สามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินได้หลากหลายมากที่สุด เพราะไม่ต้องการสภาพคล่อง และมีระยะเวลาในการลงทุนที่นาน โดยการเลือกลงทุนสำหรับเป้าหมายทางการเงินนี้ หากนำสิทธิประโยชน์ทางภาษีมาร่วมคำนึงจะทำให้การลงทุนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม เช่น กองทุนรวมผสม (ตราสารหนี้ และหุ้น) กองทุนรวมหุ้น กองทุนลดหย่อนภาษี (LTF/RMF) กองทุนรวมที่ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ รวมไปถึงประกันชีวิต
1. เป้าหมายทางการเงินระยะสั้น ควรลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินที่มีสภาพคล่องสูง และมีความเสี่ยงต่ำ เพราะมีระยะเวลาในการลงทุนสั้น จึงไม่สามารถแบกรับความเสี่ยงได้มากนัก หากประสบผลขาดทุนอาจทำให้เป้าหมายทางการเงินที่วางไว้ไม่ประสบผลสำเร็จ ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม เช่น เงินฝาก กองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมตราสารหนี้ เป็นต้น
2. เป้าหมายทางการเงินระยะกลาง สามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินที่มีสภาพคล่องน้อยกว่า เป้าหมายทางการเงินระยะสั้น เนื่องจากระยะเวลาในการออมเงินเพื่อเป้าหมายนานยิ่งขึ้น และสามารถลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินที่มีความเสี่ยงจากการลงทุนได้มากขึ้น โดยสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ตามระดับความเสี่ยงที่สามารถรับได้ ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม เช่น กองทุนรวมผสม (ตราสารหนี้ และหุ้น) กองทุนรวมหุ้น กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) กองทุนรวมที่ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ เป็นต้น
3. เป้าหมายทางการเงินระยะยาว สามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินได้หลากหลายมากที่สุด เพราะไม่ต้องการสภาพคล่อง และมีระยะเวลาในการลงทุนที่นาน โดยการเลือกลงทุนสำหรับเป้าหมายทางการเงินนี้ หากนำสิทธิประโยชน์ทางภาษีมาร่วมคำนึงจะทำให้การลงทุนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม เช่น กองทุนรวมผสม (ตราสารหนี้ และหุ้น) กองทุนรวมหุ้น กองทุนลดหย่อนภาษี (LTF/RMF) กองทุนรวมที่ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ รวมไปถึงประกันชีวิต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น