เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ก๋วยเตี๋ยวแถวบ้าน ชามละ 20 บาท ไม่น่าเชื่อจริงๆ ว่าปัจจุบันนี้ ราคาก๋วยเตี๋ยวสูงถึงชามละ 40บาททีเดียว อะไรที่ทำให้ราคามันถีบ ตัวสูงขนาดนั้นล่ะ…
“เงินเฟ้อ” มันคือเงินเฟ้อ อธิบายง่ายๆ คือ ราคาสินค้าต่างๆ สูงขึ้น แต่ว่ามันสูงขึ้นเร็วเกินไปรึเปล่า แล้วมีผลกระทบอะไรกับเราล่ะ.. อยากให้เรามาดูตรงนี้กัน
ราคาก๋วยเตี๋ยวที่เพิ่มขึ้น มานั่งคิดดูแล้ว ราคามันเพิ่มขึ้นเป็น2เท่าคิดเป็นอัตราทบต้น 3.6%ต่อปี ในขณะที่ถ้าฝากธนาคารกินดอกเบี้ย ฝากประจำโดยไม่ถอนเลย ถ้าได้ดอกเบี้ย 1% ต่อปี ทั้งๆที่เอาดอกเบี้ยไปฝากต่อด้วยนะ เงินของเราจะต้องใช้เวลาถึง 72ปี ถึงจะโตขึ้นเป็น2เท่า เงินหายไป ถูกขโมยไปด้วยภาษีดอกเบี้ย 15% และเงินเฟ้อคิดแค่3% เงิน 1ล้านที่เราฝากไว้ที่ธนาคารด้วยอัตราดอกเบี้ย1%ต่อปี ฝากทิ้งไว้ 5 ปีเงินหายไป 1 แสน ดังนั้น อย่าฝากเงินทั้งหมดไว้กับธนาคารครับ
ใช่แล้วล่ะครับ.. ยิ่งฝากเงิน เงินของเรายิ่งด้อยค่าลง เพราะเงินมันเฟ้อ.. อัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศ เค้ารวมรายการสินค้าหลายๆ ประเภทเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งก็อาจจะรวมถึงอะไร จิปาถะมากมาย แต่อย่างน้อย รู้ว่าสิ่งที่ต้องกินทุกวัน ราคามันสูงทวีคูณขึ้นไปมากทีเดียว..
หากแยกกลุ่มเฉพาะบางอย่างอัตราเงินเฟ้อสูงมาก เช่น ค่ารักษาพยาบาลสูงถึง 10% ,ค่าการศึกษาสูงถึง7%
หากแยกกลุ่มเฉพาะบางอย่างอัตราเงินเฟ้อสูงมาก เช่น ค่ารักษาพยาบาลสูงถึง 10% ,ค่าการศึกษาสูงถึง7%
แล้วเราควรทำอย่างไร ควรลงทุนอะไร แล้วมันจะไม่เสี่ยงเหรอ.. ในข้อนี้คิดว่าฝากเงินเฉยๆ ดังที่กล่าวมา มันก็คือความเสี่ยงแล้ว แต่เป็นความเสี่ยงโดยที่เราไม่รู้ตัวก็เท่านั้นเอง แล้วถ้าจะลงทุน มันมีอะไรให้เราลงทุนบ้างล่ะ..
นึกคร่าวๆ วิธีที่คนทั้งหลายลงทุนกัน (แบบถูกกฎหมายและไม่ต้องใช้ความสามารถพิเศษ) เห็นจะมี ฝากเงินเผื่อเรียก ฝากประจำ ลงทุนพันธบัตร ลงทุนตราสารหนี้ ลงทุนกองทุนรวม ประกันชีวิต ลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารทุน ที่เราชอบเรียกกันว่า “หุ้น” แล้วการลงทุนแต่ละประเภท ต่างกันอย่างไร..
ฝากเงินเผื่อเรียกกับฝากประจำ คงไม่ต้องอธิบาย ..
ฝากเงินเผื่อเรียกกับฝากประจำ คงไม่ต้องอธิบาย ..
ลงทุนพันธบัตรกับตราสารหนี้ พันธบัตรก็คือตราสารหนี้ที่รัฐบาลเป็นคนออก ส่วนตราสารหนี้เอกชน เค้าก็เรียกสั้นๆ ว่า “หุ้นกู้” คือ มันไม่ได้เหมือนหุ้นซะทีเดียว คือ มันมีลักษณเหมือนซื้อสลากออมสิน คือมีเป็นเป็นก้อนเล็กๆ ไม่กี่พันบาท ไปจนถึงก้อนใหญ่ๆ หลักพันล้านบาท แล้วก็ต้องถือไว้จนครบกำหนดไถ่ถอน อาจจะมีแบบระยะเวลา 3 เดือน ไปจนถึง 100 ปี (หุ้นกู้ ปตท. อายุ 100 ปี ดอกเบี้ย 5.9% ต่อปี น่าจะขายหมดไปแล้ว คนที่ซื้อก็น่าจะเป็นพวกสถาบันการเงินกว้านไปจนหมด) คือ ถ้าเราซื้อพันธบัตรหรือหุ้นกู้ เราก็จะได้ดอกเบี้ยในอัตราที่แน่นอน ซึ่งจะสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก แต่จะเริ่มมีความเสี่ยงสูงขึ้น จากการที่เราต้องรับผิดชอบเงินของตัวเองแล้ว ไม่เหมือนเงินฝากที่มันจะไม่สูญไป (ถ้าธนาคารไม่ล้ม) ดังนั้นการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลความเสี่ยงจึงน้อยที่สุด รองลงมาก็คือหุ้นกู้ของกิจการขนาดใหญ่ ก็คือพวกกลุ่มปตท. หรือเครือปูนซิเมนต์ไทย
ฝากประกันชีวิต เป็นการลงทุนแบบออมเงินและดูแลเราตอนป่วยเข้าโรงพยาบาล บางคนป่วยเพียงครั้งเดียวทุกอย่างที่สร้างมาก็หายไปกับตา หากยังมีแรงก็หาใหม่ แต่ถ้าไม่มีแรงจะทำอย่างไร? คงเป็นภาระให้กับลูกหลานต่อไป ประกันชีวิตคอยดูแลช่วยเหลือในยามฉุกเฉิน ทำให้มีสภาพคล่องทางการเงินขึ้นได้ ยามชราก็จะมีเงินไว้ใช้ ในบั้นปลายของชีวิต
สรุปความคิด – เงินเฟ้อกัดกร่อนเงินของเรา ขโมยเงินของเราไป ถ้าเราทำให้เงินงอกเร็วกว่าเงินเฟ้อไม่ได้ เงินของเราก็ด้อยค่าลงนั่นเองครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น